หนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของพุทธศาสนากับการปรับตัวสู่ความทันสมัยของเขมรในสมัยที่อยู่ใต้อาณานิคมฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๖๐-๑๙๓๐ เท่านั้น และชื่อเรื่องบ่งถึงการดำรงชีวิตที่เหมาะสมตามศีลาจารวัตรของพุทธศาสนิก ซึ่งควรไปพ้นไสยเวทวิทยาและความผูกพันอยู่กับการนับถือผีและมนตรา ซึ่งเขมรออกจะขึ้นชื่อมากกว่าไทย
เขมรผูกพันกับไทยทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งแนบสนิทกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ผู้เขียนได้เล่าประวัติศาสตร์เขมร แต่ก่อนการสถาปนานักพระองค์ด้วงขึ้นเป็นพระหริรักษ์ ในรัชกาลที่สาม โดยบรรยายถึงการสงครามระหว่างไทยกับญวน เนื่องในการครอบครองกัมพูชาอย่างน่าสนใจยิ่งนัก แสดงถึงความหายนะของเขมรและความกักขฬะของชนชั้นปกครองทั้งของไทยและญวน