สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

Yesterday’s Papers

หนึ่งความฝันถึงสยามประเทศของเตียง ศิริขันธ์ : จาก “เอมีล” ถึง “เพื่อนครู”

“เอมีล” และ “เพื่อนครู” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาในยุคแรกประชาธิปไตยของไทย ทั้งสองเล่มมีเสน่ห์ชวนอ่านต่างกันไป

ย้อนมองระบบสาธารณสุขไทยผ่านวัณโรคในปี 2493

บทความอายุ 70 ปีชิ้นนี้มีหลายส่วนที่น่าอ่านเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคระบาดและระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน และไม่เพียงแค่เนื้อหาเท่านั้นที่น่าสนใจ แต่บทความนี้ยังเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 แล้ว ผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตยต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองตามความรู้ความสามารถ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ เพื่อผลักดันให้สังคมไทยทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ

เชษฐบุรุษรำลึก: พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

เมื่อพบว่า พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้ถูกเรียกขานว่า “เชษฐบุรุษ” นั้น ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 ในวัยเพียง 58 ปีเศษ ก็นึกอยากรู้ขึ้นมาว่า สังคมไทยในระยะนั้น รำลึกถึงและจดจำการจากไปของหัวหน้าคณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อย่างไร?

พวงมาลาดอกชงโคและเฟื่องฟ้า กับประชาธิปตัยสมบูรณ์

แทนที่จะมีสมาชิกสภาไปวางพวงมาลา กลับมีบุคคลผู้หนึ่งกะเร่อกะร่าเอาพวงมาลาทำด้วยดอกเฟื่องฟ้าและชงโคฝีมือไม่สู้ปราณีต์นักไปวาง เจ้าหน้าที่เห็นเข้าก็กรูเข้าไปจับกุมกันเปนการใหญ่

อารัมภบท

หวนหาอดีต? ดิฉันว่ามันก็ไม่เชิง เพราะข่าวสารที่พลัดหายไปบางเรื่อง ก็ชวนให้เราทบทวนตัวเองเมื่อมาอ่านใหม่ได้ในบางแง่มุมเหมือนกัน ยังไม่นับว่ามันอาจปะเหมาะพอดีกับบ้านเมืองเราที่ถอยหลังไปจากสมัยประชาธิปไตยเสียไกลโขเช่นทุกวันนี้