Photorthographie (2)

N.d.T
“ทฤษฎี” ภาพถ่ายของแดร์ริดาเป็น “อุบายกะทัดรัด” ที่ตั้งภาพหนึ่งภาพเป็น paradigme ให้สังเกต แล้วจึงกระจายส่วนต่างๆ ออกมาเรียงต่อเนื่องเป็นขบวน แห่ให้เห็นองค์ประกอบจากต้นถึงปลายแบบเปิด ดังนั้นเหตุที่ไม่อาจหยุดกับภาพใดภาพหนึ่งอย่างจำเพาะเจาะจง ไม่อาจรีรอแม้แต่กับภาพแม่บท เพราะนอกจาก paradigme ดังกล่าวจะแสดงการสวมซ้อนให้เห็นช่างภาพและกล้องถ่ายในภาพแล้ว ยังสวมซ้อนเอาคุณลักษณะของภาพอื่นๆ ไว้ด้วยในตัว theôria ทำให้ภาพผูกต่อกันโดยยังรักษาเอกเทศทางสุนทรียศาสตร์ คงตัวตนและนามเฉพาะไว้ได้: “ใช่ แต่ละภาพกระซิบกระซาบบอกนามเฉพาะ แต่มันก็กลายเป็นชื่อเรียกของภาพอื่นๆ ทุกภาพเช่นกัน คุณสามารถตรวจสอบได้เลย กล่าวคือ แน่นอนว่าภาพแต่ละภาพคงเป็นภาพที่มันเป็น อย่างโดดๆ ทว่าแต่ละภาพร้องหาทั้ง อีกภาพหนึ่ง และภาพอื่นๆ ทั้งหมด โดยที่ไม่เป็นการบั่นทอนเอกเทศ อย่างสมบูรณ์ของมัน” จากภาพหนึ่งภาพ ทำให้ภาพอื่นๆ แห่ตามมาเป็นขบวน
**
ภาพถ่าย “แปลไม่ได้” หรือไม่อาจถอดออกเป็นคำที่เทียบเท่าวัตถุสภาพของภาพ ทั้งนี้ก็ ด้วยเหตุผลกลไกภายในตัว หรือ “อุบายกะทัดรัด” ที่กระตุ้นให้ต้องขยับจาก 1 ถึง 8+n และจาก ต้นแบบไปยังภาพที่เหลือ การเขียนถึงภาพถ่ายโดยแยกแยะและผูกต่อเท่ากับมองแบบรุกและรุดหน้า รั้นต่อความตายและการตายตัว เป็นการสังเกต ต่อเนื่อง ที่จะคานความตายโดย สลับ การเขียนถึงภาพกับการคิดถึงประโยคทวงหนี้ความตาย (chiasma) ตัวบทของแดร์ริดาถ่ายและล้างภาพออกมาเป็นทฤษฎีที่รู้ว่า “เริ่มเมื่อไหร่ แต่เราไม่เห็นจุดจบ”
**
หรือว่าการเจอจุดจบคือการ “พบความตาย” ? จุดจบที่อาจหมายถึงทั้งจุดประจบระหว่างคำและภาพเมื่อคำเกาะจับวัตถุสภาพของภาพโดยไม่ใช่เพียงซูมเอารายละเอียดตัวอ้างอิง และอาจหมายถึงภาพความตายผ่านซากเศษทางโบราณคดี ตลอดจนบรรยากาศชีวิตความเป็นอยู่ที่เคยปรากฏและสูญหายไปแล้ว แดร์ริดาค้าน การแปล ภาพถ่าย “เมื่อมันสามารถบอกเราด้วยหรือไร้ คำว่า nous nous devons à la mort” ความตายสิงสู่ภาพจนไม่อาจไปประจบ หรือ “พบ” ด้วยการแปล
******