สัมภาษณ์ผู้เขียน
"สิ่งที่ดีที่สุดในการเข้าคุกคืออะไร" ?
"เพื่อน และวัตถุดิบในการเขียน เรากำลังเขียนหนังสือ เป็นเรื่องเล่าของตัวเองในคุก สักครั้งหนึ่งในชีวิตนักเขียน ถ้าเป็นไปได้ คุณเข้าคุกเถอะ แล้วจะรู้ว่าความลึกซึ้งของชีวิตมนุษย์ไม่ใช่แค่มนุษย์ทั่วๆ ไป มันคือมนุษย์ที่พ่ายแพ้ คือมนุษย์ที่เคยหยิ่งผยองกับชีวิต เราตื่นตาตื่นใจกับวัตถุดิบในนั้นมากๆ มันคืออีกโลกของประเทศไทยเลย"
The MATTER - ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ สัมภาษณ์ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ในปี 2017 ช่วงที่หนังสือยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง
"สิ่งที่ดีที่สุดในการเข้าคุกคืออะไร" ? "เพื่อน และวัตถุดิบในการเขียน เรากำลังเขียนหนังสือ เป็นเรื่องเล่าของตัวเองในคุก...
Posted by Prontip Mankhong on Sunday, 14 July 2019
“เราเห็นตัวเองจากการเขียน คือเราไม่ใช่เหยื่อ แม้ต้องเผชิญกับความคิดของคนบางส่วนที่มองเราเป็นเหยื่อแน่ๆ แต่เราไม่รู้สึกว่าการเป็นนักโทษการเมืองมันพิเศษกว่าคนอื่นตรงไหน ไม่เห็นรู้สึกว่าการเป็นนักโทษการเมืองต้องถูกเชิดชูมากกว่าคนอื่นตรงไหน
“เอาเข้าจริง บนเส้นทางการต่อสู้ เราวางแผนให้มันรัดกุมได้ แต่ถ้ามันพลาดก็คือผิดแผน อย่าฟูมฟาย กูแค่พลาด ขึ้นไปชกแล้วโดนน็อคแค่นั้นเอง มันไม่ใช่กูอยู่นอกเวที แล้วอยู่ดีๆ มีคนเอาเก้าอี้มาฟาดใส่ เพราะว่าเราเลือกแล้ว เราเลือกที่จะเดินไปบนถนนเส้นนี้ เราเลือกที่จะเล่นกับมัน
“เลือกทั้งๆ ที่รู้ว่ามันเป็นกติกาของเขา เลือกทั้งๆ ที่รู้ว่าวันหนึ่งเราอาจจะแพ้ เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้มันจะบันเทิงนะ ไม่ได้รู้สึกว่าต้องเศร้าอะไรขนาดนั้น แค่อยากให้คนอ่านมีกำลังใจ คนชอบพูดว่าผ่านคุกมาได้ก็ดีแล้ว จริงๆ ก็ไม่เสมอไปหรอก กำลังใจบางอย่างใช้ได้แค่กับบางเรื่อง ยังมีความยากอีกเยอะในชีวิตนี้”
The 101 World - ธิติ มีแต้ม สัมภาษณ์ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง เท้าความถึงชีวิตวัยแรกแย้มของการทำกิจกรรมทางการเมืองและการละคร สัมภาษณ์ในช่วงเปิดตัวหนังสือ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ระหว่างที่ผู้เขียนกำลังผลิตหนังสือฉบับโคตรลิมิเต็ด ปีศาจห้อยหัว หรือฉบับที่ผู้เขียนพ่นสีแดงตรงบันทึกลับกลางเล่มด้วยตัวเอง
“บางครั้งเราก็เกลียดตัวเอง กร๊อฟเกลียดตัวเองที่ได้ขนาดนี้ ยิ่งไปเจอนักโทษการเมืองที่ออกจากคุก ก็ trauma หนักสักพักเลย เพราะรู้สึกว่าสิ่งที่กร๊อฟได้รับ ดีเกินไป คนพวกนี้แม่งแลกทั้งชีวิต แล้วไม่ได้เหี้ยอะไรเลย นี่มันอะไรกัน มันมีความไม่แฟร์ในการทรีตนักโทษการเมือง นั่นแหละ สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก ตัวเราก็มีกำลังจำกัด สิ่งที่ทำได้คือการชดเชยให้คนให้มากที่สุด ป้าบีบอกว่า สิ่งที่กร๊อฟน่าจะทำได้ดีที่สุดคือ เอาไฟในตัวเองฉายไปที่คนอื่น”
ประชาไท - เมตตา วงศ์วัด สัมภาษณ์ผู้เขียน พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผ่านมาของผู้เขียนและการขายหนังสือ
"การส่งศิลปินเจ้าอารมณ์เข้าไปอยู่ในแดนสนธยาที่ผู้คนจินตนาการไม่ถึง ย่อมเป็นการเคี่ยวกรำงานศิลปะ...
Posted by สำนักพิมพ์ อ่าน on Thursday, 2 May 2019
“ชื่อหนังสือคิดเยอะมาก แต่ตัดสินใจใช้ชื่อนี้เพราะมันคือสิ่งที่ถูกตัดออก สิ่งที่ถูกเซ็นเซอร์อย่างเดียวในหนังสือเล่มนี้ เป็นคำพูดของผู้หญิงคนหนึ่งที่เรา assume เอาว่าเขาเจ็บปวดกว่า โศกเศร้ามากกว่าเรา และกอง บก.จำเป็นต้องตัดประโยคนี้เพราะอาจมีความสุ่มเสี่ยงบางประการ เราเลยเอาประโยคนี้ขึ้นมาเป็นชื่อหนังสือ เพื่อแทนความรู้สึก..จริงๆ ก็เพิ่งรู้สึกตัวเองเหมือนกันว่าเราก็พูดประโยคคล้ายๆ กันแบบนี้ เพิ่งรู้ว่าเราฝังประโยคนี้ไว้ในหัวตลอด…ตอนที่เขาพูดมันเต็มไปด้วยพลัง ยังสัมผัสได้ถึงแรงบีบที่มือ มันไม่ใช่การประชดประชัน การประชดประชันนั้นเป็นเสียงเรา (หัวเราะ) แต่สำหรับคนนั้น มันคือ สุดละ มึงทำอะไรกูไม่ได้อีกแล้ว” ภรณ์ทิพย์เคยอธิบายไว้ในงานหนังสือแห่งชาติปีนี้
The Momentum - มุทิตา เชื้อชั่ง ปริทรรศน์หนังสือ มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ประกอบคำสัมภาษณ์ ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการ
‘มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ’ โดยภรณ์ทิพย์ มั่นคง บทบันทึกในฐานะมนุษย์และนักโทษการเมืองคนหนึ่ง