เสียงตอบรับ | Reviews

เสียงตอบรับบนหน้าสื่อ

มันทำร้ายเราได้แค่ไหน
รีวิวโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
พิมพ์ครั้งแรก มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 พฤษภาคม 2562

“มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ” แตกต่างจากงานเขียนเกี่ยวกับคุกชิ้นอื่น ไม่ใช่เพียงเพราะคุณภรณ์ทิพย์ มั่นคง ผู้เขียนต้องคำพิพากษาให้จำคุก 2 ปี 6 เดือน จึงได้บันทึกพฤติกรรมและแรงจูงใจที่แปลกๆ ของผู้ต้องโทษมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งมักเป็นท้องเรื่องหลักของงานเขียนเกี่ยวกับคุก แต่ผู้เขียนเล่าถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของตนเองกับผู้ต้องขังคนอื่น ท่ามกลางเงื่อนไขที่มนุษย์ขาดเสรีภาพในการเลือกไปเสียเกือบทุกอย่างในชีวิต

จะว่าเป็นบันทึกส่วนตัวของผู้เขียนระหว่าง 2 ปี 6 เดือนในคุกก็ได้ แต่เป็นบันทึกที่มากกว่ากิจกรรมทางกาย ยังรวมถึงอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสิ่งที่ประสบในความสัมพันธ์นั้น “มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ” จึงมีลักษณะเป็นนวนิยายมากกว่าเรื่องจริงเกี่ยวกับคุก

ผมไม่ได้หมายความว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องที่คุณภรณ์ทิพย์แต่งขึ้นเอง แต่ทั้งหมดเป็นปรากฏการณ์ที่คุณภรณ์ทิพย์มองเห็นจากความรู้สึกนึกคิดของคุณภรณ์ทิพย์เอง “เรื่องจริง” ทุกเรื่องล้วนเป็นนวนิยายทั้งนั้น เพราะต่างก็เป็นจริงตามคติและอคติของผู้เล่า ใครจะไปรู้ได้ว่าความจริงคืออะไร

ผมเดาว่าคุณภรณ์ทิพย์ก็เข้าใจประเด็นนี้ดี เพราะเธอเล่าว่าไม่ได้เดินเข้าคุกไปคนเดียว แต่มี “เจ้าปีศาจ” ประจำตัวเธอติดเข้าไปด้วย อีกทั้งไม่ได้ติดไปเฉยๆ แต่มีบทบาทเป็น “ตัวละคร” อีกตัวหนึ่งในเรื่อง ที่มีส่วนช่วยตัดสินใจหรือแย้งหรือเสนอมุมมองอีกมุมหนึ่งให้เธอใช้เปรียบเทียบตลอดเวลา

และอาจเพราะเป็นนักการละคร “มันทำร้ายฯ” จึงเป็นนวนิยายที่แฝงลักษณะบทละครไว้อย่างชัดเจน เรื่องดำเนินไปด้วยบทสนทนาและคำบรรยายเกี่ยวกับอากัปกิริยาของตัวละคร รวมทั้ง “ฉาก” และสถานการณ์ในฉากนั้น บางครั้งมีภาพเขียนลายเส้นฝีมือคุณภรณ์ทิพย์ประกอบด้วย ผู้กำกับฉากอ่านแล้วจัดแสงเงาได้เป๊ะเลย ความคิดเห็นและอารมณ์ความรู้สึกทุกตัวละครนอกจาก “เรา” มาจากสายตาและความเข้าใจของ “ผู้เล่า” ซึ่งเป็นตัวละครหลัก

หลายตอนของบทละครขนาดยาวเรื่องนี้ ถูกเล่าไว้ด้วยภาษาที่ “สวย” มากๆ

‘มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ’ โดยภรณ์ทิพย์ มั่นคง บทบันทึกในฐานะมนุษย์และนักโทษการเมืองคนหนึ่ง
รีวิวโดย มุทิตา เชื้อชั่ง
เผยแพร่บน The Momentum

800 กว่าหน้าของหนังสือขนาดเท่าคัมภีร์ไบเบิลคือผลงานการเขียนของภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือ กอฟ อดีตผู้ต้องหาคดี 112 จากการทำละครเวทีเมื่อปี 2556 และหลังการรัฐประหาร 2557 เธอต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำกว่า 2 ปี

เหตุผลที่รูปลักษณ์ของหนังสือเล่มนี้ดูคล้ายไบเบิลก็เพราะไบเบิลมีบทบาทในชีวิตของเธอในเรือนจำไม่น้อย หน้าปกหนังสือเป็นรูปกระดาษของพระคัมภีร์ในบทวิวรณ์ที่เธอแอบฉีกมาเขียนบันทึกอารมณ์ เรื่องราว ผู้คน ที่พบเจอ ลายมือขยุกขยุยแทรกอยู่ตามที่ว่างของกระดาษและลงวันที่ไว้ว่า 11.11.58

ใครหลายคนบอกว่าการเขียนบันทึกคือการเยียวยาตัวเอง เพราะได้สนทนากับตนเองและระบายสิ่งที่อัดแน่นอยู่ในก้นบึ้งของจิตใจ แต่การเยียวยาตนเองไม่ได้รับอนุญาตให้ทำที่นั่น ต้องลักลอบกระทำการอย่างยากลำบาก เช่นกันกับเรื่องพื้นฐานอย่างการอ่านหนังสือที่ไม่อนุญาตให้ทำบนเรือนนอน สถานที่ซึ่งนักโทษต้องใช้เวลาราว 14 ชม.ในทุกๆ วัน

เปิดโผ ‘Top Highlights’ ความน่าจะอ่าน 2018-2019
เผยแพร่บน The101.world

“จะเรียกว่าเป็นบันทึกประสบการณ์ในคุกของนักโทษคดี 112 ก็ได้ แต่อารมณ์ของการอ่านให้ความรู้สึกเหมือนอ่านวรรณกรรมดิสโทเปียอย่างประหลาด มีความเหนือจริงมาก (ทั้งที่เป็นเรื่องจริง) ยิ่งอ่านไปก็ยิ่งรู้สึกเหมือนถูกดูดลงไปในที่ที่มีกลิ่นไม่คุ้นเคย อาจจะด้วยกลวิธีการเขียน การเล่าที่ดิบ สด ทำให้ผู้อ่านรู้สึกอะไรบางอย่าง แม้ผู้เขียนจะออกตัวไว้ตั้งแต่คำนำในหน้าแรกๆ ว่า คุณจะเข้าใจ แต่ได้แค่นั้นแหละ ‘…เชื่อเถอะว่าคุณจะไม่มีทางได้รู้สึก’ ถ้าเชื่อตามคำนำ เราคงไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เขียนรู้สึก แต่รสชาติของการอ่านหนังสือเล่มนี้มีอะไรบางอย่างที่ยวนใจ อยากให้ทุกคนได้ลอง”
--ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

“มันเป็นบทบันทึกที่จะย้ำเตือนเราว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้น อ่านแล้วขนลุก ในภาวะสิ้นหวังและริบหรี่ที่สุด ข้อเขียนในหนังสือเล่มนี้ปลุกความหวังให้กับเรา”
--ปณิธิตา เกียรติ์สุพิมล

“บันทึกในคุกที่หนาราวกับไบเบิ้ล ซึ่งเป็นความตั้งใจของสำนักพิมพ์ที่ทำให้รูปเล่มเหมือนหนังสือพระคัมภีร์ เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในคุก เรื่องจริงที่เล่าได้ลื่นไหลราวกับวรรณกรรมชั้นเยี่ยม บันทึกที่อ่านแล้วให้อารมณ์หลากหลาย เศร้า ฮึกเหิม ระทดท้อ และกลับไปมีความหวัง เป็นการอ่านที่ให้อารมณ์อันหลากหลาย เป็นหนังสือแห่งปีที่ไม่ควรพลาด”
--ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง

---------------------

'มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ’ โดย ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ของสำนักพิมพ์อ่าน ได้รับการคัดเลือกจากโปรเจกต์ "ความน่าจะอ่าน 2018-2019" ของ The101.world ด้วยคะแนนเสียงสูงสุด จากลิสต์หนังสือ 118 เล่มในรอบ The Finalists ตามการแนะนำของบรรณาธิการและนักอ่านราว 50 คน 

English-language Reviews

Thailand: the Playwright and the Junta
Review by Tyrell Haberkorn
Published on Public Books

Five years, in this case, is a long time. When Prontip was prosecuted, the military junta and the coup were supported by a majority of citizens. The only outcry against Prontip’s imprisonment came from within the small community of anti-coup activists. Today, support for the junta has faded, while Prontip’s story resonates with those who once believed they had nothing in common with her.

As If the Prison Were A Play
Review by Chertalay Suwanpanich
Published on soi

Upon finishing the first chapter, tears filled my eyes. ‘How could I finish this book?’ was what I thought until I read the sentence in parenthesis (Ah. Why hadn’t I washed my hair? I should have. Now it’s oily and it’s annoying. Why didn’t I trust my experienced friend?), it was both tears and titter. Kolf approaches injustice with a sense of humour, with no pretension of remorse nor a call for sympathy. She simply takes injustice as it is, knowing too well how the justice system treats the human life, why take what happened seriously? Why look at it with a somber lens? It might be better to equip yourself with some sense of humour.

Live and die with dignity: a publisher vs. a kingdom
Review by Peera Songkünnatham
Published on New Mandala

When time isn’t on our side, life is on my side. When nothing feels light, there is this light. It’s not an all-encompassing divine light, nor is it messianic by any means. Yet, like the light of the firefly mentioned in the opening pages of That’s All He Could Do to Us, it is the most alive light there is.

All They Could Do To Us: Courage in Dark Times from a Fighter (Not a Victim)
Review and interview by Metta Wongwat
Translated from the Thai by Tyrell Haberkorn
Published on Prachatai

 “Sometimes I hate myself. I hate that I have so much. The more I research and collect information from political prisoners who have been released, it feels traumatic to me because I feel that my life and what I have received are too good. They have exchanged their whole lives and gotten nothing in return. What is this? There is unfairness in the treatment of political prisoners. That is it. In the end, there is very little that can be done. My energy is limited. What can be done is to return as much as possible to them. Aunty B [Ida Aroonwong] said that perhaps the best that I can do is to let the light that is in me shine on other people.”

How Much Can They Do To Us? A Review of Prontip Mankhong’s All They Could Do To Us
Review by Nidhi Eoseewong
Translated from the Thai by Tyrell Haberkorn
Published on Prachatai

All They Could Do To Us is different from other written accounts of prison. The author, Khun Prontip Mankhong, was sentenced to two years and six months in prison. But she not only recorded the odd behaviors and motivations of prisoners, which tend to be the core of prison writing, but she also elaborated on the social relationships between herself and other prisoners. These were relationships that emerged amidst the condition of lacking the freedom to choose nearly everything in one’s life.

The book can be described as a personal account of the author during her two years and six months in prison. But it is an account that goes beyond her physical activities to include her emotions, feelings and opinions about what she encountered in her social relationships. All They Could Do To Us therefore has the shape of a novel, rather than that of a true story about prison.

FREEDOM behind BARS
Review and interview by Phatarawadee Phataranawik
Published on Arts & Culture, The Nation

Although writing while incarcerated is taboo, Prontip found a way to record her daily experiences, the suffering of other inmates and the lack of standards in the Thai justice system. These touching stories are related in the 800-plus-page-book, which was launched in March. Porntip says she’s grateful to Ida Arunwong, editor of the Read Journal, who encouraged her to document these untold truths.

“Writing is my weapon,” she recalls. “It’s therapeutic too.”

Artist Prontip Mankong, centre, a former political prisoner, acts as the prison’s controller at a workshop accompanied to her debut art exhibition “Planet Krypton” at WTF Gallery in Bangkok. Photo/The Nation

เสียงตอบรับบนเวทีเสวนา

ความคิดเห็นของวิทยากรจากเวทีเสวนา "ความน่าจะอ่าน 2018-2019 : Final Round"
30 มิถุนายน 2562 ที่ Open House Bookshop by Hardcover กรุงเทพฯ
วิดีโอและโปรเจกต์ "ความน่าจะอ่านฯ" จัดทำโดย The101.world

ความน่าจะอ่าน 2018-2019 : จดหมายขอบคุณผู้อ่านจาก ภรณ์ทิพย์ มั่นคง 'มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ'

หลังจากที่หนังสือ ‘มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ’ ได้รับการคัดเลือกด้วยคะแนนสูงสุดในโปรเจกต์ "ความน่าจะอ่าน 2018-2019” .ภรณ์ทิพย์ มั่นคง ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งถึงผู้อ่าน ในงาน "ความน่าจะอ่าน 2018-2019 : Final Round" ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ตัวหนังสือหนึ่งหน้ากระดาษถูกอ่านโดย พลอย เดชวงษา หนึ่งใน “ตัวละคร” ของหนังสือเล่มนี้.101 ขอส่งต่อวิดีโอบันทึกนาทีตราตรึงใจ ขณะพลอยอ่านจดหมาย ให้ผู้อ่านทุกท่าน.ติดตามงานเสวนา "ความน่าจะอ่าน 2018-2019 : Final Round" ได้ที่ : ช่วงที่ 1 https://www.facebook.com/the101.world/videos/360844231151256/ช่วงที่ 2 https://www.facebook.com/the101.world/videos/1206099672905487?s=676194000&v=e&sfns=mo

Posted by The101.world on Monday, 1 July 2019

“ผมเกลียดหนังสือเล่มนี้ครับ เกลียดที่มาของหนังสือเล่มนี้ ไม่ควรมีหนังสือเล่มนี้ในสังคมไทย ไม่ควรต้องมีใครถูกจองจำด้วยเพียงคำพูด ด้วยการแสดง ด้วยการเล่นละคร แล้วก็ติดคุก”
-- วรพจน์ พันธ์ุพงศ์

ไลฟ์คุยเรื่องหนังสือกับ ชนมน วังทิพย์ ผู้อ่านและเพื่อนคนหนึ่งของเด็กปีศาจ
2 เมษายน 2562 ที่บู๊ธ S39 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ กรุงเทพฯ

กอฟ ภรณ์ทิพย์ ชวนคุยกับหนึ่งในผู้ทึ่กำลังอ่าน "มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" คุณชนมน วังทิพย์

Posted by สำนักพิมพ์ อ่าน on Monday, 1 April 2019

เสียงตอบรับบนเฟซบุ๊ก

เสียงสะท้อนจากผู้อ่านที่ได้เจอตัวกันครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือ เมษายน 2562
บันทึกโดย ภรณ์ทิพย์ มั่นคง

"ตัวจริงตัวเล็กนิดเดียว"
"เขียนเองจริงหรอ ..เคยติดคุกจริงเหรอ"
"แปลมาหรอคะ"
"หน้าตาไม่เห็นเศร้าเลย"
"ทำไมดูสดใสจัง"

ช่าย ตัวจริงพี่ตัวนิดเดียว และหน้าตาก็ระรื่นไร้สำนึกใดๆ และเล่มนี้ก็ไม่ได้แปล แต่พี่เขียนเองทั้งเล่มนะจ๊ะ

รีวิวโดย Montanaa Duangprapa
ถ่ายภาพจากหน้าจอโทรศัพท์โดย ภรณ์ทิพย์ มั่นคง
ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่จากผู้รีวิวแล้ว

รีวิวโดย Fon Alis
19 เมษายน 2562 - Facebook

“พวกเขาจะทำยังไงกับฉัน ถ้าฉันออกไปแล้ว”

“พวกเขาก็คงจะโอบกอดเธอด้วยความสงสาร และเอาเธอไปใส่ไว้ในกล่อง แห่เธอไปรอบๆ เพื่อให้ผู้คนได้ร่วมยินดีกับอิสรภาพของเธอ จากนั้นพวกเขาก็จะหยอดเหรียญลงไปในกล่องบริจาคนั่น”
.........
.....

“พวกเขาทำได้แค่บริจาคเหรอ แล้วคนอย่างฉันเป็นได้แค่เหยื่อเหรอ ฉันคงไม่ชอบสายตาที่พวกเขามองฉันแบบนั้นแน่ๆ”

“สาวน้อย เธอต้องเข้าใจนะว่าการเป็นเหยื่อน่ะมันขายได้ การบริจาคมันง่ายสำหรับพวกเขา แค่จ่ายเงินแล้วไปสนับสนุนการต่อสู้ หรือว่าจะช่วยเหลือเหยื่อ มันง่าย พวกเขาไม่ได้สนใจ ไม่ได้อยากรู้หรอกว่าเธอเป็นคนหรือตุ๊กตา”

..

โอ้ย เจ้าเด็กปีศาจ

รีวิวโดย Montakan Beatrix Ransibrahmanakul
19 มิถุนายน 2562 - Facebook

ก็ได้ฟังจาก Tawan Pongphat มาแล้วละว่าเป็นหนังสือที่สนุก
แต่พอเริ่มอ่านจริงๆ เข้าเท่านั้นถึงได้รู้ว่าคนเขียนเขียนเก่งเหลือเกิน มันคือหนังสือเล่มหนึ่งที่สนุกมาก มากๆ แต่พร้อมกันนั้นก็จิตตกไปกับแวดล้อมบรรยากาศในหนังสือ ทั้งๆ ที่หลายตอนอ่านแล้วหัวเราะซะลั่นไปหมด

เออ - - เข้าใจถ่องแท้ตรงนี้เลยว่าความเศร้าไม่ต้องเกิดจากตัวละครที่เศร้า แต่มันเศร้าได้ล้ำลึกกว่าเมื่อตัวละครพยายามเต็มความสามารถที่จะสะกดความเศร้าโศกของตัวเองเอาไว้ เพื่อที่จะมีชีวิตรอดต่อไป

เพื่อที่จะมีชีวิตรอดต่อไป

รีวิวโดย วาด รวี
29 เมษายน 2562 - Facebook

หนาแต่อ่านสนุก

"มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ" บันทึก หรืออัตชีวประวัติในระหว่างอยู่เรือนจำของภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือกอฟ เจ้าสาวหมาป่า ผู้ต้องขังคดี 112 เนื่องจากเป็นผู้กำกับและแสดงละครเรื่องเจ้าสาวหมาป่า

ด้วยสายตาและทักษะการเล่าเรื่องที่ชวนติดตามจนวางไม่ลง ถ้าไม่ติดงานอื่นอาจจะอ่านรวดเดียวจบได้ทั้งที่หนังสือหนาแปดร้อยกว่าหน้า (เล่มเล็ก)

ไม่แน่ใจว่ากรณีนี้เป็นเคสเดียวของ 112 หรือไม่ที่ศิลปินถูกจับเพราะผลงาน (การแสดง) มีอีกกรณีที่เป็นการเขียนกลอนและบทความคือเคส สิรภพ แต่กรณีนั้นตัวตนของสิรภพไม่ได้เป็นศิลปินชัดเจนเหมือนกอฟ และแบงค์ (ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ผู้ต้องหาคดีเจ้าสาวหมาป่าอีกคน)

ความแตกต่างระหว่างคนที่เป็นศิลปินโดยอาชีพกับคนทั่วไปที่อาจจะทำงานศิลปะได้คือสายตาที่มองโลกและทักษะการเล่าเรื่อง และหนังสือเล่มนี้คือผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์จากประสบการณ์ที่ต้องแลกด้วยอิสรภาพกว่า 2 ปี

ผู้เขียนฉายภาพโลกในเรือนจำด้วยน้ำเสียงที่ระมัดระวัง เก็บแม้กระทั่งรายละเอียดเล็กน้อย ในขณะที่เว้นบางเรื่องไว้อย่างมีจินตนาการ ทำให้เห็นความเป็นมนุษย์ในคุกที่โดยเนื้อแท้แล้วไม่ต่างจากโลกภายนอก น้ำเสียงปลอดจากศีลธรรมและการตัดสินคนอย่างตื้นเขิน ทว่าแฝงไว้ด้วยการตั้งคำถามถึงความถูกต้องอย่างจริงจัง

มันไม่ใช่การมองจากสายตาที่สลดหดหู่ ไม่ใช่การคร่ำครวญฟูมฟายเวิ่นเว้อ แต่คือการมองด้วยสายตาที่สดใหม่ สำรวจและค้นหา เปลี่ยนช่วงเวลาเลวร้ายให้เป็นโอกาสที่จะสัมผัสชีวิตในแง่มุมที่เป็นไปไม่ได้ที่จะทำจากภายนอก ขัดเกลา ครุ่นคิด และนำเสนอด้วยพลังสร้างสรรค์ ออกมาเป็นผลึกความคิดในรูปแบบของงานวรรณกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดบทสนทนาในใจของผู้อ่านได้อย่างลึกซึ้ง...มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่านด้วย

รีวิวโดย Artit Srijan
15 เมษายน 2562 - Facebook

อะไรทำร้ายเราได้มากที่สุด?

หลังจากภารกิจมากมาย ผมก็เพิ่งมีเวลาจะได้อ่านหนังสืออย่างจริงจังเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้เอง #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ เป็นหนังสือที่ผมเลือกหยิบมาอ่านเล่มล่าสุดในบรรดากองหนังสือที่ซื้อมากองอยู่ที่บ้านซึ่งเป็นหนังสือที่ผมให้นิยามและขอบเขตของมันได้ยากมากที่สุดเล่มหนึ่งในขณะที่อ่านและแม้อ่านจบไปแล้ว

ในเบื้องต้นมันคือบันทึกความทรงจำของ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง หรือกอล์ฟ, กรอฟ, กรอฟฟฟฟ, กร๊อฟ ฯลฯ ในช่วงเวลาอันยากลำบากในชวิตของเธอในเรือนจำ เธอถูกตัดสินด้วยข้อหาอันร้ายแรงที่สุดในสังคมไทย นั่นคือ ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือเรียกกันอย่างลำลองว่า ม. 112 จากการเป็นผู้กำกับและนักแสดงในละครเรื่อง "เจ้าสาวหมาป่า" เนื่องในงาน 40 ปี 14 ตุลา ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 13 ตุลาคม 2556

ผมคร้านจะพูดถึงรายละเอียดของคดี เพราะท้ายที่สุด แม้ภรณ์ทิพย์จะได้รับโทษจนพ้นโทษออกมาแล้ว แต่ความยุติธรรมของการพิจารณาคดีนี้ตลอดจนทุกๆ คดีที่เกี่ยวข้องกับ ม. 112 ก็ไม่เคยทำให้สังคมไทยได้กระจ่างชัดว่าความหมายของมันคืออะไร

เราอาจเรียกได้ว่า นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นนักโทษทางความคิด กระบวนการในการพิจารณาคดีต้องบีบให้ผู้ต้องหารับสารภาพ (เว้นแต่ว่าคุณเป็นใครสักคนที่สังคมไทยตระหนักว่ามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่) ภรณ์ทิพย์เองเธอก็ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า เธอยอมรับสารภาพเพื่อให้มันสิ้นเรื่องสิ้นราวกันไป

เช่นที่ผมกล่าวไว้ในตอนต้นว่า หนังสือเล่มนี้ให้นิยามและขอบเขตยาก แต่ในย่อหน้าต่อมาผมก็บอกไว้อีกเช่นกันว่ามันเป็นบันทึกความทรงจำของภรณ์ทิพย์ซึ่งหากได้ลองอ่านและพิจารณาให้ดี #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ มีความก้ำกึ่งอย่างมากระหว่างงานที่เป็นบันทึกความทรงจำของปัจเจกบุคคล กับงานวรรณกรรม และมีบางส่วนที่ไปคล้ายคลึงกับงานเขียนแบบชาติพันธุ์วรรณาที่เป็นประเภทของงานเขียนชนิดหนึ่งในสาขาวิชามานุษยวิทยา

ในฐานะที่มันเป็นบันทึกความทรงจำ ความทรงจำนั้นกล่าวโดยทั่วไปคือมันมีลักษณะการทำงานสองแบบที่สวนทางกัน คือ การจำกับการลืม ความทรงจำจึงไม่ใช่อะไรก็ตามที่เป็นใสซื่อบริสุทธิ์ หรือมีลักษณะเป็นวัตถุวิสัย (Objective) เพราะกระบวนการการทำงานของความทรงจำนั้นต้องกระทำผ่านการเลือกและคัดสรรเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อที่จะจำบางอย่าง ในขณะที่คู่ตรงกันข้ามก็ทำงานไปพร้อมๆ กันคือการเลือกที่จะลืมบางอย่างเพื่อให้เหตุการณ์ที่ต้องการจะจำนั้นมีความชัดเจนมากขึ้น

อดีตนั้นไม่ได้ถูกรับรู้ในฐานะที่มันเกิดขึ้นจริง หรือมีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เกิดขึ้นทุกอย่าง แต่มันคือการคัดเลือกและตัดทิ้งเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการจดจำของปัจเจกบุคคลมากกว่า

ใน #มันทำร้ายเราได้เท่านี้แหละ ภรณ์ทิพย์ก็ได้เล่าไว้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์ใดที่เล่าได้ละเอียด หรือเล่าได้แต่ไม่ละเอียด หรือเล่าไม่ได้ หรือไม่ได้เล่า ผมคิดว่ามันไม่ใช่แค่เหตุการณ์เหล่านั้นมันไม่ปะติดปะต่อกันในความทรงจำของภรณทิพย์ ในทางตรงกันข้ามผมกลับคิดว่าทุกๆ เหตุการณ์มันยังคงประทับตราตรึงอยู่ในความทรงจำของเธอ เพียงแต่ด้วยสภาพของสังคมไทย กฎหมายที่ป่าเื่อนแต่ทรงพลัง รวมถึงอำนาจในสังคมที่ "ถึงจะรู้ๆ กันอยู่แต่ก็พูดออกมาไม่ได้" มันไม่อนุญาตให้ภรณ์ทิพย์ได้เล่าอย่างละเอียดหรือเล่าอย่างตรงไปตรงมาได้ นอกจากนี้ ในบางจุดของหนังสือยังไม่การเล่าในทำนองว่าความทรงจำของภรณ์ทิพย์อาจสร้างปัญหาให้กับบุคคลที่สาม สี่ ห้า ที่ถูกพาดพิงอยู่ในหนังสือได้ นี่ก็อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ความทรงจำของภรณ์ทิพย์จำเป็นต้องมีการ ตัด ต่อ แต่ง เติม เสริม เข้ามา

กลวิธีในการปรุงแต่งความทรงจำของภรณ์ทิพย์มีการใช้เทคนิคและกลวิธีทางวรรณกรรมที่แยบยลและน่าสนใจมาก #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ จึงเป็นบันทึกความทรงจำที่มีความเป็นวรรณกรรมสูงมากๆ ด้วยองค์ประกอบพื้นฐานของวรรณกรรม เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ปมขัดแย้ง ฉาก ในทุกๆ ตอนของหนังสือมีการร้อยเรียงเส้นเรื่องและวางปมขัดแย้งในแต่ละจุดได้อย่างพอดิบพอดี นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียกว่า "บันทึกลับ" อยู่กลางเล่ม ผู้อ่านจะต้องตามไปอ่านตามจุด (หรืออาจเรียกได้ว่าตามแผนของนักเขียน) ที่ภรณ์ทิพย์ได้วางเอาไว้ ในจุดนี้ผมคิดว่าต้องชื่นชมความสามารถในการเขียนของภรณ์ทิพย์และการบรรณาธิการที่เยี่ยมยอดของไอดา อรุณวงศ์

บทสนทนาของบุคคลที่ถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงศักยภาพของทั้งความสามารถในการเขียนของภรณ์ทิพย์และตัวบทสนทนาเอง เพราะบทสนทนาในหนังสือ #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ ทำหน้าที่ของบทสนทนาในวรรณกรรมได้อย่างสมบูรณ์ คือ มันได้แสดงบุคลิกลักษณะของผู้พูด แสดงเหตุการณ์ ชี้ให้เห็นแนวทางของตัวเรื่องที่กำลังจะเล่าต่อไป ซ่อน "ความหมายระหว่างบรรทัด" ตลอดจนเป็นชิ้นส่วนหนึ่งใน "สาร" ที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะสื่อสาร

ผมชอบตอนหนึ่งในหนังสือที่เปิดบทด้วยคำพูดที่ว่า "ถ้าประเทศนี้เป็นดินแดนมหัศจรรย์ คุกก็คงเป็นดินแดนมหัศจรยย์ของดินแดนมหัศจรรย์อีกที" (หน้า 257) ผมชอบประโยคนี้ในหนังสือมากๆ เพราะถ้าหากเราประโยคนี้แปะไว้ที่ไหนสักแห่งที่เราเห็นมันได้ตลอดเวลาในการอ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะพบว่าประโยคนี้เป็นความจริงในระดับสัจธรรมเลยทีเดียว

ภรณ์ทิพย์เล่าเรื่องราวของชาวคุก ได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตประจำวัน ความคิดความอ่าน ความเชื่อ พิธีกรรมในแต่ละวัน ระเบียบที่จัดการชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละวัน มันเป็นโลกที่สามในประเทศโลกที่สามอย่างเช่นประเทศไทย

สำหรับผม ความมหัศจรรย์อย่างแรก คือ คุกไม่ได้เป็นสถานที่สำหรับคนที่ทำผิดกฎหมาย แต่มันเป็นสถานที่ที่รวบรวมคนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมจากระบบกฎหมายไทยไว้เป็นจำนวนมาก ปัญหาของระบบยุติธรรมไทยนั้นมีอยู่มากมายหลายระดับทั้งโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิด เป็นแพะก็เยอะ ไอ้ที่ผิดจริงๆ ก็มี แต่การติดคุกมันคือการเอาชีวิตคนๆ หนึ่งไปเลยน่ะครับ มันทำลายชีวิตคนแน่ๆ

(เอาจริงๆ ผมว่าย่อหน้าบนนี่ไม่ควรจะเป็นเรื่องมหัศจรรย์สำหรับผมอ่ะนะแต่ มันก็น่าจะอัศจรรย์บ้างแหละน่า)

วิถีชีวิตของชาวคุกนั้น พวกเขาต้องเอาตัวรอดในทุกสถานการณ์ หากเราเชื่อว่าชีวิตของคนไทยนั้นมีราคาที่แสนถูก ชีวิตของคนที่ติดคุกในเมืองไทยนี่แทบจะไม่มีราคาเลย เพราะถูกตีตราไปแล้วว่าเป็นคนไม่ดี การเอาตัวรอดของคนคุกมีหลายรูปแบบ มีการแข็งขืน ต่อรอง ประนีประนอม ทั้งหมดนี้แม้จะเหมือนกับชีวิตของคนที่ไม่ได้ติดคุก แต่ในขณะอ่านภรณ์ทิพย์ก็ได้เตือนผมหลายครั้งว่าผมกำลังอ่านชีวิตของคนที่อยู่ในคุก

ถ้าเราเรียกสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมว่า "ภูมิปัญญา" สิ่งที่ภรณ์ทิพย์อธิบายไว้ใน #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ จะถูกเรียกเช่นนั้นบ้างได้หรือหรือไม่....

ท้ายที่สุด ไม่ว่าเราจะอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยขอบเขตไหนก็ตาม มันคือความทรงจำของภรณ์ทิพย์ มั่นคง อดีตนักโทษทางความคิดที่มีความผิดราวอาชญากรสังคม ผมไม่เห็นความฟูมฟายในชะตากรรมของชีวิตที่ต้องมาเจออะไรเช่นนี้ ภรณ์ทิพย์ ยังคงทำงานเพื่อสังคมในส่วนที่เธอพอจะทำได้ต่อไป สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ได้มอบให้ผมอย่างหนึ่งคือ พลังในการต่อสู้กับชีวิตในประเทศนี้ เช่นที่หนังสือเล่มนี้บอกไว้น่ะครับ #มันทำร้ายเราได้เท่านี้แหละ

สุดท้าย ผมประทับใจกับข้อความที่ภรณ์ทิพย์เขียนให้ตอนที่ซื้อหนังสือที่ว่า "ได้โปรดดื่มด่ำกับมันด้วยการหัวเราะให้สุดเสียง และร้องไห้จนตาแห้ง... เรื่องมันไม่ได้เศร้าขนาดนั้นหรอก" เพราะเมื่อผมอ่านจบผม ผมก็หัวเราะแห้งๆ แต่น้ำตารื้นๆ น่ะครับ

รีวิวโดย Sirikan June Charoensiri
8 เมษายน 2562 - Facebook

#มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ อ่านหนึ่งคนเขียน เห็นหมื่นชีวิตคนในดินแดนมหัศจรรย์ Prontip Mankong

จูนคนอ่าน: ไม่เชิงเศร้า มันเหมือนถูกดูดลงรูสูญญากาศ บรรยายสนุกแต่มันอึดอัดหายใจไม่ได้
กร๊อฟคนเขียน: มันเป็นโพรงกระต่ายไง มันอึดอัดเสมอแหละ
คนอ่านและคนเขียน: กอดกอด #มันทำร้ายเราได้แค่นี้แหละ

สนใจติดต่อ สำนักพิมพ์ อ่าน ได้ค่ะ เล่มนี้เป็น limited edition ไม่รู้หมดหรือยัง มันมีความลับบางอย่างที่เล่มธรรมดาอาจจะยังไม่มี ; ]

รีวิวโดย Joe Wannapin
29 มิถุนายน 2562 - Facebook

อ่านจบแล้ว หนังสือที่ถูกผู้คนชื่นชมเยอะที่สุด ณ ขณะนี้ และไม่ผิดหวังเลย

หนังสือดีจริงๆ ในทุกมิติ ข้อแรกเลย ก๊อฟเล่าเรื่องสนุกมาก เธอจะเติบโตไปเป็นนักเขียนที่ดีได้แน่ๆ เรื่องราวของนักโทษหญิงคดี 112 ในคุกซึ่งทำให้เราเผลอยิ้มและเศร้าใจไปพร้อมๆ กันตลอดเล่ม

ข้อสองส่วนตัวขึ้นมาหน่อย ก๊อฟและเราเป็นพี่น้องคริสเตียนที่รักพระเจ้าเหมือนกัน ระหว่างอ่านเราจึงอดอธิษฐานเผื่อก๊อฟตามไปด้วยไม่ได้ อินจนลืมตัวไปว่าจริงๆ ตอนนี้ก๊อฟออกมาจากคุกแล้ว แล้วพออ่านลืมตัวแป้ปๆ ก็อินตามเรื่องก็อธิษฐานอีก มันไม่ควรมีคนดีๆ ต้องติดคุกเพราะคดีแบบนี้เลยจริงๆ

ข้อสามอย่างที่ก๊อฟว่า ถ้าเมืองไทยคือดินแดนมหัศจรรย์แล้ว คุกไทยก็เป็นดินแดนมหัศจรรย์ในมหัศจรรย์เข้าไปอีก ความรู้สึกตอนอ่านเหมือนอ่านนิยายแฟนตาซีที่ตัวเอกผจญภัยอยู่ในโลกที่มีกฎกติกาเหนือจินตนาการต่างจากโลกที่เราอยู่ แต่ยังคงมีความเป็นมนุษย์ที่เข้าถึงได้ เข้าใจได้

ความพีคคือไอ่โลกแฟนตาซีที่ว่านี่ มันเป็นโลกที่มีอยู่จริงๆ มีคนจริงๆ อยู่ในนั้น และมันไม่ใช่นิยาย แต่เป็นบันทึกประสบการณ์จริงๆ ของก๊อฟ และมันทำให้เราเผลออุทานตอนอ่านหนังสือว่า
“ความจริงนี่แม่งโคตรมีพลังเลย”

ป.ล.ถึงสำนักพิมพ์อ่าน ขอบคุณที่ทำหนังสือเล่มนี้ออกมานะครับ ขอบคุณที่พี่บีไปเยี่ยมเยียนน้องสม่ำเสมอ และรูปเล่มที่ตอนแรกผมไม่เข้าใจ แต่พออ่านจบแล้วรู้เลยว่าตั้งใจทำให้เหมือนไบเบิลเล่มที่ก๊อฟอ่านในคุก มันดีงามมากครับ

รีวิวโดย หนังสือปันกันอ่าน : Immortalbook
26 มิถุนายน 2562 - Facebook

บันทึกชีวิตในคุก ของผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่ต้องโทษเป็นเวลา 2 ปีกว่า ๆ

นับตั้งแต่แดนแรกรับ
มาเป็นเด็กใหม่ น้องใหม่
เมื่อคดียังไม่สิ้นสุด
ต้องโดนล้วง "อวัยวะเพศ" ทุกครั้ง
ที่ออกไปขึ้นศาล
.
นอนพื้น ถ้ามีผ้าห่มก็ดีหน่อย
แต่มีมากชิ้นก็โดนริบ
จะอาบน้ำ ต้องรีบเดี๋ยวไม่ทัน

พอมีเสื่อปูนั่ง จึงจะเรียกว่ามีบ้าน ?
ล็อกเกอร์หนึ่งช่องคือทรัพย์สมบัติ
ที่ต้องใช้ตลอดปี/หลายปี
.
ครึ่งหลัง หลังจากเธอปรับตัวได้
ชีวิตคุกเข้าที่เข้าทาง
ชีวิตอื่น ที่เธอถ่ายทอดออกมา
ทำให้เราได้เห็นว่า
มันช่างเป็นวงจรอุบาทว์
การออกแล้วต้องเข้ากลับไป
กลายเป็นเรื่องปกติ

หรือ แม้กระทั่งคนที่ต้องโทษไม่นานมาก
อย่างเธอ ก่อนจะถูกปล่อยตัว
ยังเต็มไปด้วยความสับสน
.
2 ปีกว่า ทำลายอะไรไปไม่น้อยเลย

นี่คือสิ่งที่คนคนหนึ่งได้รับ
จากคดีแสดงละครเวที
แล้วถูกแจ้งว่า เข้าข่ายมาตรา 112

ละครที่คงมีคนได้ดูไม่กี่ร้อยคน
ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่
ก็ไม่มีทางทำลาย/ทำร้าย อะไรได้
.
2 ปี กว่า ๆ มันโหดโดยไม่ความจำเป็น
เลยจริง ๆ