คำอธิบาย
ประกอบด้วย
1. ศิลปาการแห่งกาพย์กลอน
เขียนโดยนามปากกา “ศรีอินทรายุธ” พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2501 คำสำคัญเช่น “กาพยายุธ” “อหังการแห่งกวี” ปรากฏอย่างโดดเด่นอยู่ในหนั
2. กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สัง
รวมบทกวีที่เขียนในนามปากกา “นายผี” ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เอกชน, นิกรวันอาทิจ, สยามนิกร และสยามสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2484-2490 เขียนด้วยฉันทลักษณ์หลายประเภท เนื้อหาวิจารณ์สังคมการเมืองแต่มีลักษณะซ่อนนัยเนื่องจากต้องหลบเลี่ยงอำนาจเผด็จการ แต่ก็มีความแหลมคมจนทำให้มีหลายคนถามหาว่าคือใคร ในเล่มนี้ซึ่งเป็นงานเปิดตัวช่วงแรกจึงมีกาพย์กลอนที่อธิบายหรือโต้เถียงว่านายผีคือใครไว้หลายชิ้น
3. กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สัง
รวมบทกวีที่เขียนในนามปากกา “นายผี” ซึ่งตีพิมพ์ใน สยามสมัย และนิตยสาร อักษรสาส์น ระหว่าง พ.ศ. 2491-2493 ด้วยฉันทลักษณ์หลายประเภท นายผีซึ่งมีจุดยืนวิพากษ์รัฐ ได้วิพากษ์นโยบายหลายประการของรัฐบาล รวมทั้งความขัดแย้งในหมู่ผู้นำและเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นแก่นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งนายผีให้ความเคารพนับถือ ช่วงปี 2493 ยังเป็นช่วงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนปฏิวัติสำเร็จ พร้อมๆกันไปกับที่เกิดกระแสขบวนการสันติภาพ กาพย์กลอนในเล่มนี้จึงสะท้อนบรรยากาศในช่วงเวลาดังกล่าว
3. เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า… และกาพย์กลอน “ความเปลี่ยนแปลง”
ประกอบด้วยกาพย์กลอนขนาดยาวที่มีลักษณะเป็นเรื่องเล่าในตัวเองสองชิ้น ชิ้นแรกคือ “เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า” เรื่องเล่าถึงครอบค
ชิ้นที่สองคือ “ความเปลี่ยนแปลง” เป็นงานที่นายผีเขียนเพื่อให้กำลังใจคุ
งานกาพย์กลอนสองชิ้นนี้เขียนด้วยฉันทลักษณ์และรสทางภาษาในแบบวรรณคดีวิจิตร ให้รสชาติความงามที่ต่างไปจากงานกาพย์กลอนในชุดวิพากษ์วิจารณ์สัง
5. กาพย์กลอนวิพากษ์วิจารณ์สัง
รวมบทกวีที่เขียนในนามปากกา “นายผี” ซึ่งตีพิมพ์ใน สยามสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2494-2495 และ สยามนิกร กับ ปิยมิตรวันจันทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2501-2502 เนื้อหายังคงเป็นการวิพาษ์การเมืองภายใต้ยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม และสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องสังคมวัฒนธรรมมากกว่าในชุดกาพย์กลอนวิพากษืสองเล่มก่อนหน้า งานประพันธ์ “อีศาน” อันโด่งดัง ก็อยู่ในเล่มนี้
6. เคล็ดกลอน เคล็ดแห่งอหังการ
เป็นงานรวมบทความสองชุดที่ตีพิมพ์ใน ปิยมิตรวันจันทร์ ในปี 2502 และ 2504 นับเป็นผลงานรุ่นหลังที่สุด