สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

นายคำ : ตำนานนักเขียนโลก

200 ฿280 ฿

นายคำ / wordmasters
ตำนานนักเขียนโลก
ผู้เขียน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

 

รายละเอียด

นายคำ / wordmasters
ตำนานนักเขียนโลก
ผู้เขียน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

พิมพ์รวมเล่มครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์อ่าน ตุลาคม 2560
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ISBN
ปกอ่อน 978-616-7158-72-3
ปกแข็ง 978-616-7158-73-0
จำนวนหน้า 224 หน้า

คํานําสํานักพิมพ์

บทความในหนังสือเล่มนี้เขียนช่วงปี 2534-2541 ถ้าจำไม่ผิด นั่นคือ ช่วงที่อาจารย์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เพิ่งรับตำแหน่งอาจารย์วรรณคดีอังกฤษ-อเมริกันไม่นาน เราเห็นได้ถึงความมุ่งมั่นที่จะริเริ่มงานเขียนซึ่งเป็นการเปิดประตูแก่โลกการอ่านสาธารณะ จริงอยู่ การเขียนแนะนำผลงาน/ชีวประวัตินักเขียนอาจเป็นการเริ่มต้นที่ง่าย แต่ความเหนือชั้นในงาน “แนะนำตัว” เหล่านี้ อยู่ที่การเลือกประเด็นและข้อมูลมาขมวดได้อย่างคมชัด ทั้งนี้เพราะชีวประวัติของคนหนึ่งคนย่อมมีมุมให้พูดถึงมากมาย การเลือกแก่นหัวใจมาบางด้านจึงต้องอาศัยทั้งความสามารถในการจับประเด็นและความคิดท่ีชัดเจนต่อภาพที่มุ่งจะเสนอ

และขณะเดียวกันเราในฐานะผู้อ่านก็อาจรู้สึกได้ถึงแรงบนั ดาลใจที่ทำให้เขาเลือกเสนอภาพนั้นที่เมื่อนำเงื่อนไขช่วงเวลามาประกอบกันก็ยิ่งได้อรรถรสขึ้นไปอีก เป็นอารมณ์ของ “ยุคสมัย” ทั้งในความหมายของบริบทสังคมไทย และในความหมายของ “เจเนอเรชั่น” ซึ่งบางทีผู้อ่านอาจสัมผัสได้อย่างเดียวกันโดยที่เราไม่ต้องขยายความแต่ต้นมือ

นอกเหนือจากนี้แล้วผู้อ่านอาจพบเช่นกันว่ามันช่างรื่นรมย์เสียนี่กระไร ที่ได้อ่านงานเขียนในท่วงทำนองสบายๆ มีแง่มุมคมคายแจ่มชัดได้แม้ปราศจากอาภรณ์ทางวิชาการอันรัดกุมบ้าง สำนักพิมพ์อ่านขอขอบคณุ อาจารย์วิทยา หาญวารีวงศ์ศิลป์ ที่ช่วยเพิ่มความรื่นรมย์ด้วยภาพวาดที่ “ออริจินัล”ในทุกความหมาย ขอบคุณ คณุ วริศา กิตติคุณเสรี ที่ช่วยเสริมงานบรรณาธิการอย่างดี ขอบคุณ คุณสุวิภา เชษฐานนท์ ที่ช่วยงานพิสูจน์อักษร ขอบคุณ คุณโตมร ศุขปรีชา ที่ช่วยค้นข้อมูลเพิ่มเติมในเทรนดีแมน

ท้ายที่สุด ขอบคุณอาจารย์ชูศักดิ์ ที่อนุญาตใหเ้ราพา “นายคำ”ในความสนใจและในตัวอาจารย์เอง มาพบกับผู้อ่าน, ในชุดลำลองเช่นนี้

คํานําผู้เขียน

หนังสือ นายคํา ตํานานนักเขียนโลก รวบรวมบทความเกี่ยวกับนักประพันธ์ต่างชาติที่ผมเขียนไว้ต่างวาระ และ เผยแพร่กระจัดกระจายในนิตยสารสามเล่ม คือ สารคดี, มติชนสุดสัปดาห์, และเทรนดีแมน (ยุติการพิมพ์ไปนาน แล้ว) บทความเหล่านี้เป็นงานเขียนลำลองในรูปคอลัมน์นิตยสาร มิใช่บทความวิชาการที่เคร่งครัดในการอ้างอิง ข้อมูลและการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน โดยมุ่งจะแนะนำชีวิตและผลงาน หรือทัศนะต่อการประพันธ์ของนักเขียน เหล่านี้ที่ผมคิดว่าน่าจะให้แง่คิดหรือสร้างแรงบันดาลใจแก่นักอ่านและนักเขียนบ้านเราให้ขวนขวายหางานของ พวกเขามาอ่านตามอัธยาศัย เกณฑ์การเลือกนักเขียนเป็นไปตามความชอบ ความสนใจของผมเป็นหลัก หรือไม่ก็อิงกับกระแสความเคลื่อนไหวในวงวรรณกรรมขณะที่เขียน แง่มุมเกี่ยวกับผลงานของนักเขียนเหล่านี้ก็เป็นทัศนะและอคติส่วนตัวของผมเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้อย่าได้ประหลาดใจ หากพบว่านักเขียนมีชื่อหลายคนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประพันธ์ชั้นเอกของโลกจะมิได้ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ และก็ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมนักเขียนบางคนในเล่มนี้จึงไม่เป็นที่ยกย่องหรือเป็นนักประพันธ์เรืองนาม ทั้งหมดเป็นเรื่องของความชอบไม่ชอบส่วนตัวของผมสถานเดียว และขอสารภาพไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า นักเขียนบางคนที่อยู่ในเล่มนี้ก็ไม่ใช่นักเขียนที่ผมชอบเป็นพิศษแต่อย่างใด

ในยุคปัจจุบันที่การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างง่ายดายเพียงนิ้วสัมผัส ทุกคนต่างกลายเป็นเอ็นไซโคลพีเดียเคลื่อนที่กันได้ชั่วพริบตา ข้อเขียนเชิงแนะนำประวัตินักเขียนจึงแทบไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะใครๆ ก็ค้นหาข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วยการเข้าไปดูในวิกิพีเดียหรือกูเกิล กระนั้นก็ตาม คุณไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน ได้ ยืนยันอย่างหนักแน่นกับผมว่าบทความชุดนี้ยังมีคุณค่าควรแก่การนำมารวบรวมจัดพิมพ์เผยแพร่ แม้จะรู้สึกเกรงใจสำนักพิมพ์อ่านเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการลงทุนลงแรงที่สูญูเปล่า แต่ด้วยความเคารพและเชื่อมั่นในวิจารณญาณของบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

ผมขอขอบคุณทีมงานสำนักพิมพ์อ่านที่รวบรวมบทความเหล่านี้ รวมทั้งตรวจทานข้อมูลต่างๆ ทั้งช่วยขัดเกลาสำนวนภาษา ขอขอบคุณอาจารย์วิทยา หาญวีระวงศ์ศิลป์ ผู้เป็นมิตรอันยาวนานของผมที่นึกสนุกกับหนังสือเล่มนี้ และทุ่มเทฝีมือและสติปัญญาวาดภาพนักเขียนเหล่านี้ขึ้นใหม่ด้วยลีลาชั้นเชิงอันเหนือชั้น และขอขอบคุณนิตยสาร ต่างๆ ที่เปิดพื้นที่ให้บทความเหล่านี้ในครั้งแรก

ท้ายสุด ขอคารวะคุณอัศนี พลจันทร เจ้าของนามปากกา “นายผี” ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ผมนำมาต้ังชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “นายคำ” ใน ความหมายผู้เป็นนายของคำ

สารบัญ
– คำนำสำนักพิมพ์
– คำนำผู้เขียน
– เจน ออสติน ราชินีแห่ง “จริตนิยาย”
– เอ็ดการ์ อัลลัน โพ บิดาของนวนิยายนักสืบ
– เคท โชแปง นักเขียนเพื่อสิทธิสตรีรุ่นบุกเบิกของอเมริกา
– สตีเฟน เครน นักเขียนแนวสัจนิยมรุ่นบุกเบิก
– เกอร์ทรูด สไตน์ เจ้าแม่วรรณกรรมสมัยใหม่
– เวอร์จิเนีย วูล์ฟ ผู้บุกเบิกนิยายสมัยใหม่
– เจมส์ จอยซ์ นักเขียนผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20
– แม็กซ์เวล เพอร์กินส์ บรรณาธิการของอัจฉริยะ อัจฉริยะของบรรณาธิการ
– ที. เอส. เอเลียต กวีและนักวิจารณ์ยุคสมัยใหม่
– อกาธา คริสตี้ ร้อยปีราชินีนิยายสืบสวน
– โซรา นีล เฮิร์สตัน และปากเสียงของความเป็นหญิง
– ฟรานซิส สก็อตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ นักฝันผู้ยิ่งใหญ่
– วิลเลียม ฟอล์คเนอร์ อหังการของนักเขียน
– เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ มนุษย์ฆ่าได้ แพ้ไม่ได้
– จอห์น สไตน์เบค มนุษย์คือมหันตภัย และความหวังสุดท้ายของมวลมนุษยชาติ
– แกรห์ม กรีน บอกเล่าเรื่องราวของความล้มเหลวทางมโนธรรม
– อ็อคตาวิโอ ปาซ กวีเซอร์เรียลลิสต์คนสุดท้าย
– อาเธอร์ มิลเลอร์ ละครควรทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์มากขึ้น
– ดอริส เลซซิง นักเขียนผู้เกลียดการประทับตรา
– อิตาโล คาลวิโน สำรวจความยอกย้อนของความจริง
– วีซวาวา ฌีมบอร์สกา กว่าจะมาเป็นกวีโนเบลประจำปี 1996
– อัลเลน กินส์เบอร์ก เสียงโหยหวนแห่งยุคสมัย
– ดาริโอ โฟ ตลกโนเบล
– โทนี มอร์ริสัน นักเขียนรางวัลโนเบลสตรีผิวดำอเมริกันคนแรก
– เจอร์ซี โคซินสกี ที่เห็นและเป็นไป
– คาซูโอะ อิชิกูโร นักเขียนคลื่นลูกใหม่จากอังกฤษ
– เจย์ แม็คคินเนอร์นีย์ ผู้เดินรอยตามฟิตซ์เจอรัลด์
– ดักลาส คูปแลนด์ ผู้ให้กำเนิดเจนเนเรชั่นเอ็กซ์
– ครบรอบสี่สิบปี The Catcher in the Rye: คิดถึง โฮลเดน คอลฟิลด์
– ประวัติการตีพิมพ์

อื่นๆ

ปก

ปกอ่อน, ปกแข็ง