สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

โครงการเขียนใหม่นายผี 2019

บทความ เรื่อง “ปฏิวัติที่เพิ่งเริ่ม(?): จากรัฐประหารซ้อน 2491 สู่(จุดเริ่มต้น)ปฏิวัติของประชาชน 2562”

งานเขียนชิ้นนี้ต้องการสนทนากับงาน “ปฏิวัติที่ห่าม” (2491) ของอัศนี พลจันทร โดยเริ่มจากการเข้าไปแกะรอยความคิดเรื่อง “การปฏิวัติ” ในทัศนะของนายผี พร้อมทำความเข้าใจบริบทที่ส่งผลต่อความคิดทางการเมืองในช่วงนั้น ก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบความคิดทางการเมืองของนายผีกับนักปรัชญาตะวันตกอย่าง Hannah Arendt ผู้เสนอมุมมองต่อการปฏิวัติได้น่าสนใจในผลงานของเธอคือ “On Revolution” (1963) เพื่อที่จะนำมาคิดต่อไปว่าเหตุใดการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในไทยจึงยังไม่ถือว่ามีการปฏิวัติ (โดยประชาชน) อย่างแท้จริง

นิทานการเมือง เรื่อง “เมื่อแรกอภิวัฒน์สยาม”

“ก่อนอื่นผมอยากให้นักท่องเวลาในรอบนี้ทุกท่าน ห้อยการ์ดประจำตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในการท่องเวลา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้จะช่วยดูแลท่านตลอดการเดินทาง และกฎเหล็กที่ท่านพึงปฏิบัติและระลึกไว้เสมอตลอดการเดินทางคือ ‘เป็นเพียงผู้เฝ้ามองอดีตแลอนาคตด้วยใจที่เป็นกลาง เพื่อเรียนรู้ แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือพยายามแก้ไขสิ่งใด’ ซึ่งในวันนี้คณะของเราประกอบไปด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ได้แก่ เอก เต้ ช่อ ณต และเนเน่ ซึ่งนิทรรศการแห่งเวลาที่ท่านจะได้รับชมต่อไปนี้มีชื่อว่า ‘เมื่อแรกอภิวัฒน์สยาม’ หากทุกท่านพร้อมแล้วเราจะออกเดินทางกันในอีก 5 4 3 2 1 บัลลังก์ GO………..”

บทความ เรื่อง “สภาพการณ์ 2491 ถึงการแตกสลายของ Bhumibol Consensus”

สถานการณ์ในปี 2491 มีกลุ่มอำนาจที่กำลังต่อสู้ขับเคี่ยวกันสามกลุ่มดังได้กล่าวไป และในปีต่อๆมาถึงแม้กลุ่มของปรีดีจะพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างเด็ดขาดในปี 2494 ก็ไม่ได้ทำให้กลุ่มการเมืองที่เหลือสถาปนาอำนาจนำได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่อย่างใด สังคมการเมืองไทยตลอดช่วงทศวรรษ 2490 ยังอยู่ในลักษณะการเมือง “สามเส้า” และจบลงเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ทำการรัฐประหาร ในปี 2500

สถานการณ์ในอดีตมีความคล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์ทางการในรอบสิบกว่าปีมานี้เป็นอย่างยิ่ง!

นิทานการเมือง เรื่อง “ช่วง ‘ระหว่าง’ การเปลี่ยนแปลง”

“อีกไม่นานเกินรอดอก เธอก็ใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติ คิดล่วงหน้าไว้ว่าชีวิตจะต้องทำอะไรต่อไปในหนึ่งวันบ้าง แล้วสถานการณ์ทุกอย่างจะคลี่คลายของมันเองไปในที่สุด แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่กำลังมาถึง ประเทศนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แล้วเส้นทางการเดินทางใหม่ก็จะเริ่มขึ้น ทางเส้นนี้จะทอดยาวไปไกลจนไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดของเส้นทางนี้จะไปจบลงที่ไหน ชีวิตคนอย่างพวกเธอจะเปลี่ยนไป…”

นิทานการเมือง เรื่อง “ถ้าไม่แตะ …”

เพื่อไม่ให้ความเป็นพลเมืองโลกกลายเป็นคำปลอบโลมฝืนกลืนเช่นความเบาหวิวไม่ทำให้หัวใจเอมอิ่ม หนำจะยังความเจ็บปวดให้เรื้อรังต่อไป… ต้องแตะ ต้องจากไป ฉันจะออกไปอีกครั้ง เหมือนการงานในแต่ละวัน จะห่ามจะงอม ช่างมัน เวลาไม่ใช่ของเรา ไม่รอสิ่งที่ยังมาไม่ถึงหรือจะมาถึงในสักวันหนึ่งอีกแล้ว อนาคตไม่ใช่ของเรา ซึ่งจะปล่อยผ่านให้ยุคสมัยเลยไปถึงจุดนั้นเองไม่ได้ บ้านเรากำลังไหม้ ลุกลามใหญ่โตถึงที่ทำกิน กินลึกถึงจิตวิญญาณความเป็นคน

นิทานการเมือง เรื่อง “วิหคเพลิง”

เมื่อนานมาแล้วอัคคีเคยเชื่อว่านกกระจอกไม่สามารถกลายเป็นอินทรีได้ และเขาก็เชื่อว่าวงจรอุบาทว์นั้นเหมือนๆ เดิมทุกครั้ง เช่นกัน เมื่อก่อนเขาก็เชื่อว่าการปฏิวัติ 2475 นั้นชั่วร้าย แต่กลับกันในวันนี้ไม่ใช่ แน่นอนการปฏิวัติ 2475 นั้นมิได้สวยหรู แต่มันก็ไม่ได้ชั่วร้ายอย่างที่เขาจำ หากอารยธรรมจีนมีตำนานว่าด้วยปลาคาร์ฟที่พยายามว่ายทวนน้ำจนเป็นมังกรแล้ว การที่นกกระจอกจะกลายเป็นวิหคเพลิงก็คงเป็นได้ไม่ต่างกัน

นิทานการเมือง เรื่อง “รถเก๋งกับยุทโธปกรณ์”

หลังจากเฝ้ารอการเลือกตั้งมานานถึง 5 ปี ความเปลี่ยนแปลงก่อรูปก่อร่างผิดแผกไปจากความคาดหวัง หัวหน้าคณะรัฐประหารหวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งฝ่ายที่เห็นด้วยก็เริ่มออกมาส่งเสียงประชดประชันว่า ก็เลือกกันไปแล้ว ยังจะต้องการอะไรอีก / เขายัวะเสมอเมื่อได้ยินคำพูดทำนองนั้น โดยเฉพาะจากผู้บริหารในวันประชุมผู้ปกครอง เพียงไม่กี่วันนับจากเลือกตั้งเสร็จสิ้นและยังคงอยู่ในระหว่างการนับคะแนน ราวกับซักซ้อมสอดรับมาเป็นอย่างดี หนึ่งในผู้บริหารกล่าวอย่างมั่นอกมั่นใจ โรงเรียนพร้อมสนองรับ คน.12 ซึ่งใคร ๆ ต่างก็ทราบดีว่ามาจากนโยบายของพรรคการเมืองหนึ่งซึ่งเป็นทายาทจากเศษซากรัฐบาลเก่า

นิทานการเมือง เรื่อง “จิตแห่งวิญญาณของนักปฏิวัติ”

พ่อหนุ่มคนนั้น เขาประกาศตัวเป็นคนที่จะลงเล่นการเมืองเพื่อต่อต้านหรือคานอำนาจสกัดไม่ให้เผด็จการครองอำนาจ เขาว่าเขาจะนำพาประเทศชาติไปสู่อนาคตใหม่…” / “จริงหรือคะ ส่วนตัวคุณคิดว่าสิ่งที่พ่อหนุ่มคนนี้กล่าวอ้างประกาศอวดนั้นเป็นความจริงได้สักมากน้อยเพียงใด…” ฉันถามแทรกขณะที่เลื่อนจานผลไม้แกะเปลือกเรียบร้อยไปตรงหน้าเขา / “เพ้อฝัน คำโฆษณาชวนเชื่อ…” เขาตอบพร้อม ๆ กับถอดแว่นสายตาหนาเตอะออก หยิบชายเสื้อเชิ้ตขึ้นเช็ดคราบสกปรกและเหงื่อไคล “วิถีทางที่จะเอาชนะกับเผด็จการใช้คำพูดไม่ได้มันต้องต่อสู้ด้วยอาวุธปืน”

นิทานการเมือง เรื่อง ” ‘การปฏิวัติที่สุกงอม’ ระลอกนั้น”

เรื่องมันเป็นแบบนี้ไปแล้ว ถ้าการปฏิวัติที่ห่ามหมายถึงการปฏิวัติที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และการปฏิวัติแบบนั้นย่อมไม่มีวันสำเร็จ เช่นนั้นแล้ว การปฏิวัติในสองครั้งหลังสุด เมื่อเดือนกันยายน 2549 และเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนหนึ่งก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่สุกงอมได้ เพราะประชาชนต่างออกมาร่วมเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลนายทุนปีศาจกันอย่างอุ่นหนาฝา “คลั่ง”

คำตัดสิน “เขียนใหม่นายผี” – วิจารณ์ “อีศานล่ม” และ “โอ้…อีศาน”

ในการพิจารณาให้รางวัลในครั้งนี้ แม้คณะกรรมการจะยืนยันว่าความถูกต้องแม่นยำในการเข้าใจตัวบทที่วิจารณ์นั้นเป็นฐานของงานวิจารณ์ แต่ความถูกต้องแม่นยำดังกล่าวก็มิใช่ประเด็นชี้ขาดการตัดสินแต่ถ่ายเดียว เพราะเราเห็นว่าความสมเหตุสมผล ความหนักแน่น ความแจ่มชัด และความสดใหม่ของข้อเสนอที่ปรากฏในบทวิจารณ์ที่ผ่านการพิจารณาทั้ง 3 เรื่องนี้ มีน้ำหนักเพียงพอและอยู่ในระดับที่ชวนให้ครุ่นคิดและร่วมถกเถียงด้วยได้อย่างน่าชื่นชม

1 2 3 4 5