สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

คู่หู | companions

นิทานการเมือง เรื่อง “พฤษภกาสร”

“เปลี่ยนชื่อก่อนเข้าโรงเรียนและดี เพื่อนจะได้ไม่ล้อ โชคดี อย่าเอาเลยคนแถวบ้าน ชื่อนี้เป็นคอมมิวนิสต์ใหญ่แถวช่องช้างโน่น” / “แล้วจะให้ชื่อไหรละ” แม่เอ่ยถามพ่อขึ้นมา / “พี่ตั้งไว้แล้วห้าชื่อ” / “ดวงจันทร์ อัมรินทร์ พิณพนา เจตศักดิ์ สันติ ถูกโฉลกกับเดือนปีเกิดของมัน” / “เอาชื่อไหรละ” แม่หันมาทางผม / … / หากสังคมเราเลือกสิ่งต่างๆ ได้ง่ายดายเหมือนชื่อของผม ปัญหามากมายคงไม่ก่ายเกิด

นิทานการเมือง เรื่อง “การปฏิวัติแกมดิบ”

ฉันจึงไม่เรียกการปฏิบัติการในคืนนี้ของอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นการปฏิวัติโดยประชาชน แต่ฉันพอใจเรียกว่าการชุมนุมก่อความไม่สงบในบ้านเมือง หรือจะเรียกว่าการปฏิวัติแกมดิบก็ได้ ตามประสาคนรากหญ้าที่ถ้ามีอะไรขึ้นมาก็เรียกว่าการชุมนุมประท้วง ทั้งนี้เพราะการปฏิวัติเมื่อปี 2475 นั้นเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ คณะราษฎร เพียงแต่รีไรท์ระบบการปกครองไม่มาก หลักความจริงนั้นมีอยู่ว่าการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่ระบอบของประชาชนอย่างแท้จริงนั้น ในการปกครองเศรษฐกิจและสังคม ย่อมจะต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัต และต้องดำเนินไปเหมือนลูกมะม่วงเมื่อสุกแล้วก็จะหล่นลงจากต้นสู่พื้นดิน เมื่อถึงที่สุดแล้วก็ย่อมนิ่งอยู่กับพื้น และจะไม่เหินลอยขึ้นไปอยู่บนกิ่งมะม่วงอีก

บทความ เรื่อง “การปฏิวัติที่ห่าม ๘๗ ปีที่ล่วงผ่าน”

ประชาชนในวันนี้แตกต่างมากแล้วจากประชาชนในครั้งนั้น เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรได้หว่านไว้แม้จะถูกเหยียบย่ำทำลายครั้งแล้วครั้งเล่าแต่มันก็ยังไม่ตายและจะไม่ตาย กงล้อประวัติศาสตร์มนุษยชาติอาจสะดุดล้มลงไปบ้าง อาจถอยหลังไปบ้าง แต่ไม่มีสิ่งใดรั้งให้มันหยุดหรือถอยหลังตลอดไปได้ ไม่มีสิ่งใดรั้งไม่ให้มันเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ประวัติศาสตร์บอกเราไว้เช่นนั้น มันต้องเคลื่อนไปข้างหน้าเสมอ

บทความ เรื่อง “การปฏิวัติที่ห่ามสำหรับฝ่ายก้าวหน้าที่ไม่มีความเจนจัดและไม่มีอำนาจ”

อุปลักษณ์ที่เราคาดไม่ถึงก็คือ หมายเหตุจากบรรณาธิการต้นฉบับ ที่มีการตีพิมพ์สองตอน หากว่าเป็นการเข้าใจผิดก็แล้วไป แต่ถ้าเป็นการใช้อุปลักษณ์อย่างหนึ่ง ก็ดูน่าฉงนสนเท่ห์ทีเดียว การบันทึกไปได้เพียงครึ่งๆกลางๆ แล้วมีคนเข้าใจผิด นำไปลงตีพิมพ์ ก็จำเป็นที่จะต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามมา เช่นเดียวกันกับการปฏิวัติที่ห่าม มักจะต้องให้คนรุ่นหลังๆมาแก้ไขอยู่เสมอ

นิทานการเมือง เรื่อง “การปฏิวัติกับความสยองขวัญสีขาว”

“๕ ปี ภายหลังรัฐประหาร มันไม่ใช่ ๕ ปีภายหลังการปฏิวัติ มันไม่ใช่การปฏิวัติเลย มันเป็นได้เพียงการปฏิวัติที่ห่ามเท่านั้น มันจึงมีแต่ความเปรี้ยว ไม่มีรสหวานปนอยู่เลย” / “จะไม่ใช่การปฏิวัติได้อย่างไรกันละลุง ในเมื่อเขายึดอำนาจของประเทศไปจนหมดสิ้น มีอำนาจที่เรียกว่าอำนาจ ๕๕ ใช้ได้ตามใจชอบ จะออกกฎหมายกดขี่พวกเราเป็นวัวควาย จะบุกมาจับเราเฉย ๆ หรือบางทีอาจตัดสินเรากลางตลาดหาว่าเราเผาตลาดแล้วยิงเราทิ้งตรงนั้นก็ได้ อำนาจที่เขามีมันถึงเพียงนั้น ยังจะไม่ใช่การปฏิวัติอีกหรือ”

บทความ เรื่อง “การปฏิวัติครั้งสุดท้าย”

ในปัจจุบันที่ไม่มีใครอยากจะจับปืนสู้ หรือใช้กำลังเพื่อตัดสินอนาคตของตัวเอง ทั้งยังไม่มีใครอยากเอาชีวิตไปทิ้งให้กับอะไรที่ไม่รู้ว่าผลจะเป็นเช่นไร หน่ออ่อนเหล่านั้นเลยต้องเลือกที่จะไปแฝงตัวในโลกออนไลน์แทน การปฏิวัติครั้งสุดท้ายในโลกจริงจึงช่างอยู่ไกลเสียเหลือเกิน แต่การปฏิวัติบนโลกออนไลน์ดูจะใกล้แค่เอื้อม อย่างไรก็ตามการสุกของการปฏิวัติ 2475 นี้เอง คือสิ่งที่บอกว่าการปฏิวัตินั้นไม่ได้นิ่งอย่างที่เข้าใจ เพราะแม้แต่การปฏิวัติที่เคยห่ามก็เป็นการปฏิวัติที่สุกได้ เช่นกันการปฏิวัติที่สุกก็อาจจะเป็นการปฏิวัติที่ห่ามได้ในอนาคต

บทความ เรื่อง “ปฏิวัติที่เพิ่งเริ่ม(?): จากรัฐประหารซ้อน 2491 สู่(จุดเริ่มต้น)ปฏิวัติของประชาชน 2562”

งานเขียนชิ้นนี้ต้องการสนทนากับงาน “ปฏิวัติที่ห่าม” (2491) ของอัศนี พลจันทร โดยเริ่มจากการเข้าไปแกะรอยความคิดเรื่อง “การปฏิวัติ” ในทัศนะของนายผี พร้อมทำความเข้าใจบริบทที่ส่งผลต่อความคิดทางการเมืองในช่วงนั้น ก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบความคิดทางการเมืองของนายผีกับนักปรัชญาตะวันตกอย่าง Hannah Arendt ผู้เสนอมุมมองต่อการปฏิวัติได้น่าสนใจในผลงานของเธอคือ “On Revolution” (1963) เพื่อที่จะนำมาคิดต่อไปว่าเหตุใดการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในไทยจึงยังไม่ถือว่ามีการปฏิวัติ (โดยประชาชน) อย่างแท้จริง

นิทานการเมือง เรื่อง “เมื่อแรกอภิวัฒน์สยาม”

“ก่อนอื่นผมอยากให้นักท่องเวลาในรอบนี้ทุกท่าน ห้อยการ์ดประจำตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในการท่องเวลา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้จะช่วยดูแลท่านตลอดการเดินทาง และกฎเหล็กที่ท่านพึงปฏิบัติและระลึกไว้เสมอตลอดการเดินทางคือ ‘เป็นเพียงผู้เฝ้ามองอดีตแลอนาคตด้วยใจที่เป็นกลาง เพื่อเรียนรู้ แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือพยายามแก้ไขสิ่งใด’ ซึ่งในวันนี้คณะของเราประกอบไปด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน ได้แก่ เอก เต้ ช่อ ณต และเนเน่ ซึ่งนิทรรศการแห่งเวลาที่ท่านจะได้รับชมต่อไปนี้มีชื่อว่า ‘เมื่อแรกอภิวัฒน์สยาม’ หากทุกท่านพร้อมแล้วเราจะออกเดินทางกันในอีก 5 4 3 2 1 บัลลังก์ GO………..”

บทความ เรื่อง “สภาพการณ์ 2491 ถึงการแตกสลายของ Bhumibol Consensus”

สถานการณ์ในปี 2491 มีกลุ่มอำนาจที่กำลังต่อสู้ขับเคี่ยวกันสามกลุ่มดังได้กล่าวไป และในปีต่อๆมาถึงแม้กลุ่มของปรีดีจะพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างเด็ดขาดในปี 2494 ก็ไม่ได้ทำให้กลุ่มการเมืองที่เหลือสถาปนาอำนาจนำได้อย่างเบ็ดเสร็จแต่อย่างใด สังคมการเมืองไทยตลอดช่วงทศวรรษ 2490 ยังอยู่ในลักษณะการเมือง “สามเส้า” และจบลงเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ทำการรัฐประหาร ในปี 2500

สถานการณ์ในอดีตมีความคล้ายคลึงกับวิกฤตการณ์ทางการในรอบสิบกว่าปีมานี้เป็นอย่างยิ่ง!

นิทานการเมือง เรื่อง “ช่วง ‘ระหว่าง’ การเปลี่ยนแปลง”

“อีกไม่นานเกินรอดอก เธอก็ใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติ คิดล่วงหน้าไว้ว่าชีวิตจะต้องทำอะไรต่อไปในหนึ่งวันบ้าง แล้วสถานการณ์ทุกอย่างจะคลี่คลายของมันเองไปในที่สุด แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่กำลังมาถึง ประเทศนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แล้วเส้นทางการเดินทางใหม่ก็จะเริ่มขึ้น ทางเส้นนี้จะทอดยาวไปไกลจนไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดของเส้นทางนี้จะไปจบลงที่ไหน ชีวิตคนอย่างพวกเธอจะเปลี่ยนไป…”

1 2 3 4 5 6