สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

โครงการ "เขียนใหม่นายผี"

“ອີສານ” ໃນຖານະສັດຕູແລະຜູ້ຄ້ຳຊູສະຫຍາມ : ການຕໍ່ສູ້ຂອງທ້ອງຖິ່ນທີ່ພົວພັນກັບພູມິທັດຢູ່ບົດກະວີ “ໂອ້…ອີສານ” ແລະ “ອີສານຫຼົ້ມ”

“ແສນລ້ານນີ້ມືລາວ          ອັນຫ້າວຫານບໍ່ຫັນເຫ
ຊູໄວ້ບໍ່ໄດ້ເຊ            ສະຫຍາມລັດຈຶ່ງເຮືອງຮອງ”
ການກ່າວອ້າງຂ້າງເທິງນັບວ່າເປັນການສ້າງຕັ້ງກອບທັດສະນະໃໝ່ຂອງຄວາມເປັນ “ລັດອີສານ” ໝາຍເຖີງ ການສ້າງໃຫ້ຖານະຂອງຂົງເຂດອີສານມີອຳນາຈເໜືອກວ່າລັດຖະບານກາງ. ອ້າງອີງໄດ້ຈາກຕົວບົດທີ່ໄດ້ກ່າວໄປແລ້ວ ແລະຍັງອ້າງອີງໄດ້ຈາກຊື່ຂອງຊຸດອີສານໂດຍສະເພາະຄຳວ່າ “ອີສານ” ໃນທີ່ນີ້ໃຊ້ອັກສອນ ศ ເປັນພະຍັນຊະນະຕົ້ນ ຍ້ອນວ່າເມື່ອຊອກຫາຄວາມໝາຍດ້ວຍວິທີການທາງນິຣຸດຕິສາດຊິພົບວ່າການໃຊ້ ศ ໃນຄຳດັ່ງກ່າວນັ້ນຖືເປັນຄຳພາສາສັງສະກິດ ໝາຍເຖິງ ຊື່ພະສິວະ ເທບປະຈຳທິດຕາເວັນອອກສຽງເໜືອ. ຄັນຊັ້ນ, ການທີ່ທ່ານອັດສະນີເລືອກໃຊ້ຊື່ໃນລັກສະນະນີ້ຄົງຊິຕ້ອງການສະແດງໃຫ້ເຫັນເຖິງຄວາມເປັນໃຫຍ່ດ້ວຍຄວາມເຊື່ອທາງສາສະໜາ.

เมื่อนายผีเขียนอีสานผ่านผัสสะ ในบทกวี “โอ้…อีศาน” และ “อีศานล่ม”

หากบทกวีนี้เป็นวรรณกรรมที่มุ่งให้ชาวอีสานลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากลำบาก สามารถตีความได้ว่า นายผีสถาปนาตนเป็นเสมือนวีรบุรุษทางความคิดของชาวอีสานในการปลุกให้ชาวอีสานตื่นจากการวางเฉยต่อความยากลำบาก อย่างไรก็ตาม ผู้วิจารณ์ได้ตระหนักว่า แม้นายผีจะเน้นภาพด้านลบของสภาพแวดล้อมของแผ่นดินอีสานและชี้ให้เห็นความตรอมตรมของชาวอีสานเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อมองอีกมุมแล้ว ผู้วิจารณ์ได้เห็นแง่มุมที่งดงามของชาวอีสานที่ถูกซ่อนอยู่ในบทกวีอย่างน่าสนใจ

ตั้งแต่อีสานล่มจนถึงทางออกของอีสาน : อ่านบทกวี “อีศาน” ของนายผี

การที่นายผีบรรยายสภาพพื้นที่อีสานที่มุ่งนำเสนอภาพความแห้งแล้ง ไม่น่าอยู่ ในแง่หนึ่งอาจตอบคำถามต่อประเด็นทางภูมิประเทศ แต่ในอีกแง่นายผีต้องการสร้างภาพเชิงลบเพื่อที่จะนำไปสู่การพูดถึงผู้กระทำต่ออีสาน อีสานไม่ได้ร้อนเพราะลมแล้ง แต่ร้อนเพราะคนอื่นมาทำให้ร้อน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทน สยามรัฐ และเขา ทั้งหมดเป็นบุคคลภายนอก พวกเขาไม่ใช่คนอีสาน แต่มากดขี่ข่มเหง ดูถูกดูแคลนคนภูมิภาคนี้

คำตัดสิน “เขียนใหม่นายผี” – นิทานการเมือง เรื่องเด็กกับผู้ใหญ่ 2019 edition

ทางโครงการฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ส่งผลงานมาร่วมในการประกวดรายการแรกนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก ทางเราจะส่งหนังสือในโครงการ “อ่านนายผี” ไปให้เป็นจำนวน 2 เล่ม เพื่อแทนคำขอบคุณและเพื่อเป็นกำลังใจแก่การฝึกฝนวิทยายุทธต่อไป หรืออย่างที่อัศนี พลจันทร เคยว่าไว้ในโอกาสที่เขามีส่วนจัดการประกวดข้อเขียนที่ ปิยมิตรวันจันทร์ เมื่อราวหกสิบปีที่แล้วว่า
“จริงอยู่ข้อแนะนำของเรานี้[หรือคำตัดสินของกรรมการในที่นี้]อาจคร่ำครึและผิดพลาดไปบ้างก็เป็นได้ แต่นอกจากน้ำใจที่หวังดีโดยบริสุทธิ์แล้วยังจะมีอะไรอีกเล่าสำหรับมิตรสหายในยามยากเกินกว่าการกระทำที่เป็นจริง ขอให้ข้อเขียนเรื่องนี้เป็นเสมือนของกำนัลอันเล็กน้อยที่เราขอน้อมมอบให้แก่มิตรหน้าใหม่ของเราในวงการประพันธ์นั้นเถิด”

นิทานการเมือง เรื่องเด็กในวันนั้นกับผู้ใหญ่ในวันนี้

“แม่เขาก็เป็นห่วงเธอน่ะ ตอนนี้เธอเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลแล้วนะ ต่อไปถ้าเธอทำงานแล้วมีคนมาขุดเฟสเธอ มันก็มีความเสี่ยงสูงเหมือนกัน” หญิงสาวเข้ามาโอบไหล่เด็กสาว “ชีวิตมันมีอะไรมากกว่าเรื่องการเมืองอีกเยอะ”

นิทานการเมือง เรื่อง “โลกใหม่”

มีปัญหาที่น่าขันเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ในวงสนทนาของผู้เฒ่าที่เชื่อว่าตนเองมีเกียรติรักชาติบ้านเมืองและเชื่อถือได้ บทสนทนามีเนื้อหาไปในแนวทางที่ว่า “ฝากให้ทุกๆ คนเตือนลูกเตือนหลานที่มีสิทธิเลือกตั้งอย่าให้ถูกเขาหลอกได้ บอกด้วยว่าควรเลือกใคร ควรเลือกพรรคไหน ถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบรู้นะว่าต้องจบที่ใคร”

นิทานการเมือง เรื่องไม้อ่อนกับไม้แก่

พวกเด็กเกลียดพวกผู้ใหญ่เข้าเส้นแต่ก็ยังตัดไม่ขาดอย่างสิ้นเชิงกับพวกผู้ใหญ่ เหมือนที่เกลียดภาษาของผู้ใหญ่ แต่ก็ยังต้องอยู่ในโครงสร้างของภาษานั้น ส่วนพวกผู้ใหญ่เองก็อยากสั่งสอนเด็กจนใจจะขาด แต่ก็ทำได้ไม่สุดทางเพราะปลายทางมีแต่ความดันที่จะสูงขึ้น และถ้าความดันขึ้นแล้วก็คงต้องพึ่งกำลังจากพวกเด็กที่ต่ำช้าพวกนี้

นิทานการเมือง เรื่องเด็กที่เคยคิดว่าเป็นผู้ใหญ่มันดีกว่า

เมื่อฉันใช้เวลาบนโลกใบนี้มากขึ้น ฉันกลับกลัวการพรากจากวัยเยาว์ของตัวเอง เมื่อฉันอยู่ในช่วงวัยรุ่น ฉันกลับกลัวการเป็นผู้ใหญ่ ฉันเคยคิดว่าเป็นผู้ใหญ่มันดีกว่า แต่ฉันชักเริ่มไม่มั่นใจในความคิดนั้น ถึงเราจะโตแค่ไหนย่อมต้องมีคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่าเราอยู่ดี

1 2 3 4
© 2018 ติดต่อหรือแลกเปลี่ยนความเห็นที่ [email protected]