สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

เจ้าบ้าน

นพพร ประชากุล ทิ้งรอยโดยทิ้งรอย

นี้กระมังที่เป็นสปิริตในงานทั้งหมดของอาจารย์นพพร และคือตัวตนของความเป็นอาจารย์นพพร ประชากุล นั่นคือ นักอ่านที่หลงใหลในวรรณกรรม ผู้สงสัยในคุณค่าของวรรณกรรม, นักมนุษย์ศาสตร์ผู้เคลือบแคลงในลัทธิมนุษยนิยม, คนเปี่ยมเหตุผล ผู้หวาดระแวงในลัทธิเหตุผลนิยม, คนมากน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ ผู้สูญสิ้นศรัทธาในมนุษยชาติ

วัฒน์ วรรลยางกูร “ศรีบูรพา” แห่งยุคสมัย

สำหรับผม วัฒน์ วรรลยางกูร มิได้เป็นเพียงนักเขียนรางวัลศรีบูรพา แต่เขาคือ “ศรีบูรพา” แห่งยุคสมัยของเรา ในทุกมิติของความเป็นนักเขียนและนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ไม่กลับ : การลาลับเพื่อคงอยู่ของวัฒน์ วรรลยางกูร

สำหรับข้าพเจ้า “เนรเทศ” ไม่ใช่ลี้ภัยชั่วคราวเพื่อรอวันกลับมา เนร คือ นิร คือไร้ ไม่ใช่กลับไม่ได้ แต่ไม่ขอหันหลังกลับมาอีกแล้ว

หนึ่งความฝันถึงสยามประเทศของเตียง ศิริขันธ์ : จาก “เอมีล” ถึง “เพื่อนครู”

“เอมีล” และ “เพื่อนครู” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาในยุคแรกประชาธิปไตยของไทย ทั้งสองเล่มมีเสน่ห์ชวนอ่านต่างกันไป

ภาพลักษณ์จิตร ภูมิศักดิ์ ในยุคปัจจุบัน

จุฬาฯ คือจุลจักรวาลของอำนาจทางวัฒนธรรมในสังคมไทย การที่จุฬาฯ ไม่อาจแสดงความสำนึกผิดต่อจิตร ภูมิศักดิ์ได้ ก็คือภาพสะท้อนของสังคมไทยที่ไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการแสดงความสำนึกผิด หรือ remorse ที่ชนศิวิไลซ์ชาติอื่นเขามีกัน อันที่จริง remorse นี่ยังดูสง่ากว่า guilt ที่พวกเขาไม่มีทางยอมรับอยู่แล้วด้วยซ้ำ remorse หรือการสำนึกเสียใจต่อความผิดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะกระทำด้วยตัวเอง หรือกระทำในนามของเรา หรือกระทั่งของชนชาติเรา เป็นสมบัติที่ผู้ดีแถวนี้ไม่มี ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มีคำถามว่า ถ้าคุณปู่ของเราทำผิดไปชกหน้าคนอื่น เราต้องขอโทษเหรอ? ซึ่งมันก็ชวนให้นึกถึงอีกคำถามที่สะท้อนกันว่า ถ้าขี้ข้าของเราไปฆ่าคนอื่นในนามของความรักเทิดทูนเรา เราต้องขอโทษเหรอ? ดังนั้นเองการจับกุมคุมขัง กระทำทารุณฆ่าล้างในนามความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยังดำเนินต่อไป โดยไม่เพียงไม่มีการสืบหาผู้กระทำผิด แต่ผู้ที่ปล่อยให้ความทารุณนี้ดำเนินต่อไปก็ไร้ซึ่งสปิริตของการ remorse ฉะนั้นแล้วจะแปลกอะไรที่จิตร ภูมิศักดิ์ จะถูกโยนบกเพราะถูกหาว่าไม่เคารพต่อกษัตริย์ผู้เป็นปู่ และถูกฆ่าตายเพราะเป็นคอมมิวนิสต์ที่ถูกมองว่าเป็นพิษภัยต่อกษัตริย์ผู้เป็นหลาน

ย้อนมองระบบสาธารณสุขไทยผ่านวัณโรคในปี 2493

บทความอายุ 70 ปีชิ้นนี้มีหลายส่วนที่น่าอ่านเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคระบาดและระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน และไม่เพียงแค่เนื้อหาเท่านั้นที่น่าสนใจ แต่บทความนี้ยังเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่า หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 แล้ว ผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตยต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองตามความรู้ความสามารถ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ เพื่อผลักดันให้สังคมไทยทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ

The intellect(ual) of the masses

บทบรรณาธิการวารสารอ่าน ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (มกราคม-มีนาคม 2553) ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย อาดาดล อิงคะวณิช เผยแพร่ซ้ำอีกครั้งในวาระครบรอบ 10 ปี เหตุการณ์ 10 เมษา 2553 First published in Thai as an editorial of Aan Issue 2 Vol.3 January-March 2010, translated to English by May Adadol Ingawanij. Reposted on the occasion of the 10th anniversary of the 10th April 2010 event.

เชษฐบุรุษรำลึก: พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

เมื่อพบว่า พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้ถูกเรียกขานว่า “เชษฐบุรุษ” นั้น ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 ในวัยเพียง 58 ปีเศษ ก็นึกอยากรู้ขึ้นมาว่า สังคมไทยในระยะนั้น รำลึกถึงและจดจำการจากไปของหัวหน้าคณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อย่างไร?

พวงมาลาดอกชงโคและเฟื่องฟ้า กับประชาธิปตัยสมบูรณ์

แทนที่จะมีสมาชิกสภาไปวางพวงมาลา กลับมีบุคคลผู้หนึ่งกะเร่อกะร่าเอาพวงมาลาทำด้วยดอกเฟื่องฟ้าและชงโคฝีมือไม่สู้ปราณีต์นักไปวาง เจ้าหน้าที่เห็นเข้าก็กรูเข้าไปจับกุมกันเปนการใหญ่

1 2 3 6