สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

เจ้าบ้าน

บรรณทึก – Isan Writers, Thai Literature: Writing and Regionalism in Modern Thailand

ด้วยเหตุที่หนังสือเล่มนี้มุ่งสนใจชีวิตและผลงานของนักเขียนชาวอีสานจำนวนยี่สิบสี่คนในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ จึงชวนให้คาดหวังว่าเนื้อหาของหนังสือจะช่วยฉายให้บางแง่มุมของวิกฤตครั้งนี้กระจ่างขึ้นมาได้ เช่นแง่มุมการเมืองเรื่องอัตลักษณ์อีสานกับการสืบอัตลักษณ์การเมืองอีสาน ตลอดจนช่วยแถลงไขว่าทำไมบรรดานักเขียนชาวอีสานจึงดูจะกลับหลังหันทางอุดมการณ์จากหน้ามือเป็นหลังเท้าขนาดนี้

อ่านนายผี: พรีออเดอร์เสรีไทย

ความห้าวหาญของนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ที่ยืนกรานจะเขียนบันทึกประวัติศาสตร์แม้ในสถานการณ์ชุลมุนฝุ่นตลบ — ร่องรอยถ้อยคำและเจตจำนงอันจับใจที่คนรุ่นหลังได้แต่อ่านแต่ไม่เคยพบเจอ

อ่านนายผี “70 ปีก่อนที่ ‘บริเวณ 7 หัวเมือง’ ” (2)

“ข้าพเจ้าขอรับว่าความยุ่งยากใน ๔ จังหวัดนี้ เกิดแต่มูลเหตุสมัยเผด็จการที่ได้มีการบังคับข่มเหงราษฎรของประเทศทั่วไปเปนการใหญ่ ซึ่งกระทบกระเทือนมาถึงชน ๔ จังหวัดนี้ด้วย ” — คลี่สายสัมพันธ์ในขบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะบทบาทของนพ.เจริญ สืบแสง ส.ส.ปัตตานี ก่อนจะจบลงด้วยการจับกุมเมื่อปี 2495 และฆาตกรรมฮัจยีสุหลงและคณะเมื่อปี 2497 — ทำไมพวก “ซีแย” อย่างนายผีถึงเขียนบทความเรื่องศาสนาอิสลามหลายๆ เรื่อง?

เจ้ามิใช่ร่วงสู่แผ่นดินแห่งไหนโดยง่าย

“จันทน์กะพ้อต้นนั้นอยู่ด้วยกันมากี่ปีก็ไม่ทันได้นับ แต่พอย้ายนิวาสสถานแล้วไม่ทันตั้งหลักให้ดี หันไปดูอีกทีมันก็ถูกจับลงไปยืนต้นในดินหลุมอย่างเดียวดาย”

อ่านนายผี “70 ปีก่อนที่ ‘บริเวณ 7 หัวเมือง’”

ภูมิทัศน์และความรู้สึกในอดีตและปัจจุบันมาบรรจบกัน เมื่อบทความของ “นายผี” ที่มุ่งให้ความรู้เรื่อง “พี่น้องมุสลิมของเรา” ถูกอ่านออกเสียงให้คนรุ่นใหม่ผู้พยายามนำสันติคืนสู่ “ปาตานี” ได้รับฟัง

“ในสมุดบันทึก” กับการเกษียน/เกษียณความทรงจำเดือนตุลา

ในการจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์ ) รอบพิเศษ คุณอโนชาผู้กำกับฯ ได้ขอให้คุณไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการวารสารอ่าน ขึ้นไปอ่านบทกวีก่อนภาพยนตร์จะเริ่มฉาย

เรื่องสั้น “ความยุติธรรม”

เขียนโดย กุลิศ อินทุศักดิ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน สยามสมัย เมษายน 2497 พิมพ์รวมเล่มใน นิทานการเมืองและเรื่องสั้นของอัศนี พลจันทร เล่ม 2

1 4 5 6