ไม่กลับ : การลาลับเพื่อคงอยู่ของวัฒน์ วรรลยางกูร
สำหรับข้าพเจ้า “เนรเทศ” ไม่ใช่ลี้ภัยชั่วคราวเพื่อรอวันกลับมา เนร คือ นิร คือไร้ ไม่ใช่กลับไม่ได้ แต่ไม่ขอหันหลังกลับมาอีกแล้ว
สำหรับข้าพเจ้า “เนรเทศ” ไม่ใช่ลี้ภัยชั่วคราวเพื่อรอวันกลับมา เนร คือ นิร คือไร้ ไม่ใช่กลับไม่ได้ แต่ไม่ขอหันหลังกลับมาอีกแล้ว
“เป็นเหตุเพราะโรคห่า” คือชื่อเรื่องสั้นเขียนโดย “หง เกล […]
“เอมีล” และ “เพื่อนครู” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการศึกษาในยุคแรกประชาธิปไตยของไทย ทั้งสองเล่มมีเสน่ห์ชวนอ่านต่างกันไป
สืบเนื่องจากสภาพการถกเถียงกันบนโซเชี่ยวมีเดี่ยเรื่องซีรี่ย์เน็ทฟลิกซ์ มิดไน้ท์ แมส ของนายไมค์ ฟลานากัน ที่เพิ่งออกมาปีนี้ ข้าพจ้าวเห็นควรชี้แจงให้กระจ่างแจ่มว่าอากิวเม้นที่แทบจะไม่เป็นอากิวเม้นในบทความนี้มีพื้นฐานอยู่บนข้อกังวลทางทฤษฎีสองประการ
In light of the direction of the thai social media discourse on Mike Flanagan’s 2021 Netflix limited series Midnight Mass, I should clarify that the argument presented in this article, such as it is, has its basis in two theoretical concerns.
“ขึ้นชื่อว่าศาลก็น่ากลัวทั้งนั้นแหละ” เอ๊ะ ฉันพูดทำไมเนี่ย คนละประเด็นเลย
จุฬาฯ คือจุลจักรวาลของอำนาจทางวัฒนธรรมในสังคมไทย การที่จุฬาฯ ไม่อาจแสดงความสำนึกผิดต่อจิตร ภูมิศักดิ์ได้ ก็คือภาพสะท้อนของสังคมไทยที่ไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรมการแสดงความสำนึกผิด หรือ remorse ที่ชนศิวิไลซ์ชาติอื่นเขามีกัน อันที่จริง remorse นี่ยังดูสง่ากว่า guilt ที่พวกเขาไม่มีทางยอมรับอยู่แล้วด้วยซ้ำ remorse หรือการสำนึกเสียใจต่อความผิดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะกระทำด้วยตัวเอง หรือกระทำในนามของเรา หรือกระทั่งของชนชาติเรา เป็นสมบัติที่ผู้ดีแถวนี้ไม่มี ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มีคำถามว่า ถ้าคุณปู่ของเราทำผิดไปชกหน้าคนอื่น เราต้องขอโทษเหรอ? ซึ่งมันก็ชวนให้นึกถึงอีกคำถามที่สะท้อนกันว่า ถ้าขี้ข้าของเราไปฆ่าคนอื่นในนามของความรักเทิดทูนเรา เราต้องขอโทษเหรอ? ดังนั้นเองการจับกุมคุมขัง กระทำทารุณฆ่าล้างในนามความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยังดำเนินต่อไป โดยไม่เพียงไม่มีการสืบหาผู้กระทำผิด แต่ผู้ที่ปล่อยให้ความทารุณนี้ดำเนินต่อไปก็ไร้ซึ่งสปิริตของการ remorse ฉะนั้นแล้วจะแปลกอะไรที่จิตร ภูมิศักดิ์ จะถูกโยนบกเพราะถูกหาว่าไม่เคารพต่อกษัตริย์ผู้เป็นปู่ และถูกฆ่าตายเพราะเป็นคอมมิวนิสต์ที่ถูกมองว่าเป็นพิษภัยต่อกษัตริย์ผู้เป็นหลาน
I was almost convinced that tonight’s gathering in front of Thai Summit Tower, on 21st February after a declaration of Future Forward Party’s dissolution, meant something to us or produced even the slightest degree of encouragement until Tao, after having taken a long pause for a while, softly inquired out of the blue, “Do you feel quite depressed?” that I realized how, for five minutes, we had constructed ourselves a necessary short drama performance of such a spirited and triumphant activism to comfort our own mind and each other. “What are we doing here, huh?”
และในห้านาทีถัดมา ฉันก็เกือบจะคล้อยตามไปแล้วว่าการมารวมตัวกันของมวลชนในค่ำคืนของวันที่ 21 กุมภาพันธ์วันนี้ที่หน้าตึกไทยซัมมิทหลังการประกาศยุบพรรคอนาคตใหม่ จะมีความหมายบางอย่างสำหรับเราหรือจุดประกายแม้เพียงเศษเสี้ยวความหวัง จนกระทั่งจู่ๆเต๋าก็โพล่งขึ้นมาเบาๆหลังจากนิ่งเงียบไปครู่ใหญ่ “มึงรู้สึกหดหู่หน่อยๆไหม?” ตอนนั้นเองฉันจึงได้รู้สึกตัวขึ้นมาว่ามันคือชั่วเวลาห้านาทีเท่านั้นหรอกที่เราต่างดันทุรังสวมบทบาทในละครจำเป็นฉากสั้นๆที่ว่าด้วยการต่อสู้ทางการเมืองที่เปี่ยมความหวังและชัยชนะเพื่อปลอบใจตัวเองและปลอบประโลมกันและกัน “เรามาทำอะไรกันที่นี่วะมึง?”
ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพเวทีการต่อสู้ในไทย ว่าตอนนี้มันต้องใช้ข้อเท็จจริง ต้องเน้นใช้กฎหมายและรัฐธรรมนูญเอาชนะพวกมันให้ได้อย่างเดียวนะ หรืออย่างไรก็ตาม ก็คงปฏิเสธความสำคัญของการต่อสู้ทางสัญลักษณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจรัฐไทยผูกขาดสัญลักษณ์ความคลั่งชาติไว้หมดจนสลิ่มชนเสพความใคร่ส่วนตัวอิ่มเอมขึ้นอืดหรือพวกมนุษย์ที่ไม่กล้าโงหัวยอมแพ้ไปตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มสู้แล้ว