สำนักพิมพ์ อ่าน: เพื่อการอ่าน

อ่านออนไลน์

The Boy in the Wake and Other Liars

A novel whose central event is the death of a cadet, Mario Vargas Llosa’s La ciudad y los perros strikes at the heart of authoritarian corruption. A more radical reading does not simply accept as true The Jaguar’s confession that he was the murderer. The three main cadet characters – The Poet, The Slave, The Jaguar – are all liars by nurture. The environment fostered by the Academy is a form of corruption in which survival as some made-up self forecloses all grounds for authenticity.

คำตัดสิน “เขียนใหม่นายผี” – “อัลละหุ อักบฺร! มฺรเดกะห มุสลีมีน! ตันหยงมลายู เฮาะฆ โอรังมลายู!”

จากผลงานของอัศนี พลจันทร เกี่ยวกับชนมุสลิมมลายู จะเห็นได้ว่าความนับถือและร่วมมือร่วมใจนั้นไม่ได้ถูกขีดเส้นจำกัดด้วยศาสนาหรือชาติพันธุ์หรือพรมแดนรัฐ หากแต่การเข้าถึงและเข้าใจความจำเพาะเจาะจงของความเป็นมาและความเป็นไปของศาสนา ชาติพันธุ์ และพรมแดนรัฐนั้นๆต่างหาก ที่เป็นกุญแจไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจและการจับมือกันต่อสู้กับความอยุติธรรมจากอำนาจนานา–และการทำงานข่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้นั้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกมีชะตาเชื่อมโยงลึกซึ้งถึงกัน

รายงานข่าว เรื่อง ตันหยงกู โปลีติกกู

ปรากฏการณ์การกลับมาอีกครั้งของผู้นำกลุ่มวะดะห์ในนามพรรคประชาชาติที่สามารถกวาดคะแนนเสียงของประชาชนในสามจังหวัด สามารถพิจารณาได้ว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ไม่ต่างอะไรมากนักกับการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา โดยประชาชนยังคงตัดสินใจเลือกผู้แทนด้วยปัจจัยของบุคคลมากกว่าพรรคการเมืองและเรื่องศาสนา การเปลี่ยนขั้วของนักการเมืองมาอยู่พรรคใหม่ผนวกกับกระแสการอยากเปลี่ยนของประชาชนในพื้นที่จึงส่งผลให้ไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะผูกขาดความนิยมอย่างต่อเนื่องของพื้นที่สามจังหวัดได้

แกะรอยเนื้อเพลงหมอลำวงไฟเย็นที่ปารีส

ในคอนเสิร์ตครั้งแรกในรอบห้าปีของวงไฟเย็นผู้เพิ่งลี้ภัยสังหารไปสู่ประเทศที่สามได้สำเร็จตัวฉันก็อดไม่ได้ที่จะไปด้อมๆ มองๆ ตามประสาแฟนคลับที่อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ

ระเบิดขนนก

“เราจะให้พรแห่งความปรารถนาสุดท้ายแก่ท่าน ท่านปรารถนาสิ่งใด” / “เป็นเช่นขนนกไง ไร้ความปรารถนา” / “เป็นเช่นนั้นไม่ได้เพราะนั่นเท่ากับความไม่ปรารถนา” / “อย่างนั้นจะเป็นขนนกที่ระเบิดออกไปได้”

จงอ่านตามกาลเทศะ

เปิดตัวคอลัมน์ “อ่านออก เขียนได้” พาผู้อ่านย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นของการอ่านและการเขียน เล่างานวิชาการแห่งแรงบันดาลใจจากศาสตร์การศึกษา เพื่อห้องเรียนคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์อันมีนักเรียนเป็นคน

คำตัดสิน “เขียนใหม่นายผี” – การละเมิดอำนาจศาล

ความหลากหลายในน้ำเสียงที่ต่างก็น่ารับฟังในบทความทั้งสี่ชิ้นนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่าการเสนอความเห็นวิจารณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางกฎหมายของศาลไทยนั้น สามารถทำได้และควรได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือของศาลนั้นมิใช่อยู่ที่การปราศจากเสียงวิจารณ์ หากอยู่ที่การยอมรับให้มีการวิจารณ์ เพราะเหตุว่าศาลเองย่อมต้องสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การใช้อำนาจของตนนั้นมิได้เป็นฝ่ายไปละเมิดอำนาจอันไม่ควรถูกละเมิดเสียยิ่งกว่าของประชาราษฎร

บทความ เรื่อง คดีละเมิดอำนาจศาลกับกระบวนพิจารณาคดีละเมิดอำนาจศาลของไทย

จากการศึกษาความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลผ่านทางการให้เหตุผลประกอบคำพิพากษาของคำพิพากษาฎีกาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 – 2554 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 76 ปี พบว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลมีความพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานอื่นๆ ตรงที่เป็นคดีที่มีลักษณะการดำเนินคดีแบบ ONE STOP SERVICE

บทความ เรื่อง ข้าพเจ้าใคร่ถาม

ที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าเพื่อขยายสิทธิให้แก่ประชาชนผ่านการยื่นคำร้องได้โดยตรง แท้แล้วเป็นการขยายสิทธิให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญเองเสียมากกว่า ขออภัย ข้าพเจ้าไม่อยากจะพูดเลยว่า เหมือนศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า โยนข้ามหัวอัยการสูงสุดมาได้เลยเดี๋ยวจะจัดให้ — การกระทำเช่นนี้เท่ากับว่าศาลเป็นผู้ “ละเมิดรัฐธรรมนูญ” เสียเองใช่หรือไม่?

บทความ เรื่อง ละเมิดอำนาจศาล หรือ ละเมิดอำนาจใคร

รองเท้าแตะและเท้าอันสกปรกของชาวบ้านเป็นของต่ำที่ชนชั้นสูงไม่ปรารถนาที่จะยุ่งเกี่ยวด้วย (แม้จะยังต้องการให้เขามีความรัก ความศรัทธาในตนเองก็ตาม) และเมื่อเป็นของต่ำแล้ว ก็ไม่ควรเหยียบย่ำเข้าไปในที่สูงอย่างศาล ดังนั้นหากชนชั้นล่างยังคงปรารถนาที่จะเรียกร้องความยุติธรรมจากศาลอยู่ ก็อย่าบังอาจนำของต่ำ ๆ เหล่านี้เข้าไปทำให้เปรอะเปรื้อนในบริเวณศาล มิเช่นนั้นอาจกลายเป็น “การละเมิดอำนาจศาล” ได้

1 4 5 6 7 8 14