รีวิว “ดอนกิโฆเต้” ฉบับภาษาสปังกฤษ
จงอย่าได้ยกวรรณะของ “วรรณคดี” และศักดิ์ศรีของ “ภาษาประจำชาติ” ให้อยู่เหนือ “ภาษาพันทาง” และงาน genre ตลาดล่างอย่าง “กราฟฟิคโนเวล” อีกเลย
จงอย่าได้ยกวรรณะของ “วรรณคดี” และศักดิ์ศรีของ “ภาษาประจำชาติ” ให้อยู่เหนือ “ภาษาพันทาง” และงาน genre ตลาดล่างอย่าง “กราฟฟิคโนเวล” อีกเลย
พวกเขาถูกหลอกหลอนโดยปีศาจ ปีศาจเล็กๆสองตน ที่ชาวเมืองเรียกว่า “ไอ้เด็กผู้หญิงสองคนนั่น”
Weird fiction คืออะไร? สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น – พอเห็นแล้วก็จะอวิชชาไปหมดที่โดนมันแปดเปื้อน
What is weird fiction? It’s time we talk about the Shoggoth in the room.
หวนหาอดีต? ดิฉันว่ามันก็ไม่เชิง เพราะข่าวสารที่พลัดหายไปบางเรื่อง ก็ชวนให้เราทบทวนตัวเองเมื่อมาอ่านใหม่ได้ในบางแง่มุมเหมือนกัน ยังไม่นับว่ามันอาจปะเหมาะพอดีกับบ้านเมืองเราที่ถอยหลังไปจากสมัยประชาธิปไตยเสียไกลโขเช่นทุกวันนี้
ผลสัมฤทธิ์ที่ปรากฏทำให้ได้เห็นความเป็นไปได้นานาของการกลับไปหาอดีตที่ไม่ใช่การปัดฝุ่นบนหิ้งเพื่อเฉลิมฉลองวันเวลาอันเลิศแต่หนหลัง ตรงข้าม มันเป็นการเป่าเถ้าฟืนให้ตื่น-ลุก-โลดขึ้นมาเป็นเปลวอีกครั้งเหมือนดังยุคสมัยนั้นที่บ้านเมืองไม่ดีแต่ก็ยังมีคนแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี-ไม่ดีและพยายามทุกวิธีที่จะจุดประกายทางปัญญา
มันก็อาจจะคล้ายๆกับนิทานหลายๆเรื่อง ที่สุดท้ายบุรุษเหล่านี้ก็ผิดสัญญา และแม่มดก็ย่อมต้องแค้นใจและกลับมาแก้แค้น แต่ แม่มดเรื่องนี้ไม่ได้อ่อนไหวขนาดนั้นหรอกน่า
ในบรรดาผลงานที่ผ่านการคัดเลือก ผู้อ่านสามารถสัมผัสได้ถึงการหยิบจับแง่มุมคนละแง่ของชิ้นงานชวนอ่านไปต่อยอด รูปแบบจดหมายของชิ้นงานชวนอ่านมีความก้ำกึ่งหลายประการที่เอื้อต่อการแตกประเด็นใหม่ๆ ตั้งแต่ความก้ำกึ่งระหว่างความรู้สึกนึกคิดจากมุมส่วนตัวกับความคิดเห็นเปิดผนึกที่ต้องการสื่อในที่สาธารณะ ความก้ำกึ่งระหว่างระยะห่างทางเวลาและสถานที่ที่ทำให้ต้องเล่าทุกอย่างให้ฟังอย่างพรั่งพรูกับความสนิทชิดใกล้ที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากความ กระทั่งความก้ำกึ่งระหว่างการเขียนไปเรื่อยๆ เหมือนไม่มีโครงสร้างกับการตั้งมั่นครุ่นคิดอยู่กับเรื่องสำคัญที่คาใจ
ลุงเองก็ไม่ต้องห่วงผมอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้ผมปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ที่เบอร์ลินได้เร็วกว่าที่คิด สิ้นปีก่อนผมผ่านการสอบวัดระดับภาษาเยอรมันที่ผู้ลี้ภัยเข้ามาใหม่ทุกคนจำเป็นต้องสอบ ทำให้เทอมที่แล้วผมมีสิทธิได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายเหมือนกับเด็กเยอรมันทั่วไป แต่มีเรื่องหนึ่งที่ตลกมากเกิดขึ้นทั้งๆ ที่โรงเรียนผมมีเด็กเยอรมันอยู่เต็มไปหมด แต่เพื่อนคนแรกในเบอร์ลินที่นั่งติดกับผมในห้องเรียนกลับเป็นผู้ลี้ภัยเหมือนกัน
ฉันจะยังไม่ไปไกลถึงสันติภาพของโลก ฉันจะขอพูดถึงประเทศของฉันนี่แหละก่อน แล้วฉันก็นึกถึงคำคำหนึ่ง คำนั้นคือ “ชังชาติ” นี่นับเป็นคำใหม่และกำลังติดตลาด มันถูกคิดขึ้นใช้เมื่อไม่นานนี้เอง(คุณอาจเคยได้ยินมาแล้ว)โดยฝ่ายไม่เอาประชาธิปไตยเพื่อใช้ประณามฝ่ายประชาธิปไตยท่ามกลางบรรยากาศการเมืองแบบแบ่งขั้วที่ยังติดหล่มยืดเยื้อมายาวนาน . . . ฉันเองแม้ไม่ชอบคำนี้ แต่ฉันรู้ว่าจะไปห้ามไม่ให้เขาพูดไม่ได้ เพราะโดยหลักแห่งเสรีภาพเขาย่อมสิทธิที่จะพูด ถ้าฉันไม่ชอบหรือไม่เห็นด้วย ที่ฉันจะทำได้คือ ใช้เสรีภาพเดียวกันนั้นพูดแสดงความคิดของฉันโต้กลับไปเท่านั้นเอง การโต้กันไปมาเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมันก่อประโยชน์ให้กับทั้งระดับบุคคลและสังคมได้